วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

OPEC



กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก เป็นองค์การนานาชาติ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือทางด้านนโยบายน้ำมัน และช่วยเหลือด้านเทคนิคและเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิก

ประวัติการก่อตั้ง
โอเปค จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ.2503 โดยประเทศอิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และเวเนซุเอลา ต่อมามีสมาชิกเพิ่มอีก 8 ประเทศ ได้แก่ กาตาร์ อินโดนีเซีย ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แอลจีเรีย ไนจีเรีย เอกวาดอร์ และกาบอง รวมมีสมาชิก 13 ประเทศ ต่อมาเอกวาดอร์ลาออก เมื่อ พ.ศ.2535 และกาบองลาออก เมื่อ พ.ศ.2538 ปัจจุบัน จึงเหลือสมาชิกเพียง 11 ประเทศ โอเปคเดิมมีสำนักงานใหญ่ อยู่มีนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมา พ.ศ.2508 ได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
ในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มโอเปค การขุดเจาะน้ำมันในประเทศสมาชิกต่างเป็นการลงทุนและดำเนินการโดยบริษัทน้ำมันต่างชาติ ประเทศเจ้าของบ่อน้ำมันได้รับค่าภาคหลวงตอบแทน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนน้อย การร่วมมือของกลุ่มโอเปคในช่วงนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายสำคัญ 3 ประการ คือ
1. เพื่อเจรจากับบริษัทน้ำมันผู้ได้รับสัมปทานในการตั้งกองทุนน้ำมันดับให้เท่ากันทุกประเทศ
2. เพื่อนำราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลมาจากการเจรจาใช้เป็นฐานในการคำนวณเป็นรายได้ของประเทศ
3. เพื่อเป็นอำนาจต่อรองในการยึดครองหรือโอนกิจการน้ำมันเป็นของรัฐต่อไป
กลุ่มโอเปคได้ดำเนินงานไปตาวัตถุประสงค์จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจและต่อมาเมื่อมีสามชิกเพิ่มขึ้นอีก 8 ประเทศ ทำให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้นและขยายวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกมากขึ้นคือ
1. เพื่อปกป้องราคาน้ำมันตกต่ำและเจรจาขายน้ำมันดับในเงือนไขที่ดี
2. เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทน้ำมันผู้ผลิตน้ำมันในอัตราที่สูงขึ้น
3. เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการประกาศเพิ่มราคาน้ำมัน

ผลการปฏิบัติงาน
ในปัจจุบันโอเปคเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลสูงมากทั้งต่อระบบเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ เพราะมนุษย์จำเป็นต้องใช้พลังงานที่มาจากน้ำมัน แต่ด้วยเหตุที่ประเทศสมาชิกของกลุ่มโอเปคมีสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรมแตกต่างกัน ทั้งยังมีปริมาณน้ำมันสำรองไม่เท่ากันด้วย การกำหนดราคาและโควตาการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปคในระยะหลังมานี้ มักไม่มีเอกภาพ กล่าวคือประเทศคูเวค กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่างเป็นประเทศที่มีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่มาก และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สามารถปฏิบัติตามมติของโอเปคได้ แต่ประเทศอิหร่านแม้มีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่มาก แต่หลังสงครามกับอิรักแล้วต้องลอบผลิตน้ำมันออกจำหน่ายเกินโควตาที่โอเปคให้ไว้ เพื่อนำเงินมาฟื้นฟูบูรณะประทศ
ประเทศอิรัก มีแหล่งน้ำมันสำรองมากประเทศหนึ่ง แต่ได้รับความเสียหายจากสงครามกับอิหร่านและพ่ายแพ้สงครามในการปิดล้อมคูเวต ซึ่งสหประชาชาติได้ออกมาตรการต่างๆ มากำหนด ทำให้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันได้อย่างจำกัด ส่วนประเทศไนจีเรียมีปริมาณน้ำมันสำรองน้อย เป็นประเทศยากจน และมีจำนวนประชากรมาก จึงต้องผลิตน้ำมันเกิดโควตาและจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าที่โอเปคกำหนด
กิจกรรมสำคัญที่โอเปคดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2516 เป็นต้นมา คือ การปรับราคาน้ำมันดิบ ซึ่งได้กระทำหลายครั้ง จนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกเหล่านี้มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยขึ้น และได้นำเงินตราเหล่านี้ไปใช้เสริมสร้างความมั่นคงและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น การซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อป้องกันประเทศ การสร้างโรงกลั่นน้ำมันเพื่อการส่งออก การส่งเสริมอุตสาหกรรมปิโตรเลียม การให้สวัสดิการและยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นต้น
นอกจากนี้ สมาชิกของกลุ่มโอเปคยังได้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศอาหรับที่มิได้เป็นสมาชิกของโอเปค และประเทศอื่นที่ประชากรบางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศโอเปค ส่วนใหญ่เป็นการติดต่อค้าขายน้ำมันและด้านแรงงานที่ไทยส่งไปยังประเทศเหล่านี้ ส่วนการติดต่อกันในด้านอื่นๆ นับว่ามีน้อยมาก พอสรุปได้ดังนี้
1. ทางด้านกาค้า ไทยยังมีการค้าขายกับกลุ่มโอเปค โดยการนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะประเทศโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย และสินค้าออกที่สำคัญของไทยที่ส่งไปยังกลุ่มโอเปค ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง
2. ทางด้านแรงงาน เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจ เพราะไทยได้จัดส่งแรงงานเข้าไปทำงานในประเทศกลุ่มโอเปคเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่ทางรัฐบาลไทยต้องติดตามและให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ประเทศกลุ่มโอเปคที่คนงานไทยไปทำงานมากในปัจจุบัน คือ ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต ทางด้านประเทศอิรัก ซึ่งเคยมีคนงานไทยไปทำงานกันมาก แต่หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียแล้วมีจำนวนคนงานไทยลดลง
3. ด้านการเมือง เป็นความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและการเยี่ยมเยือนเพื่อกระชับความสัมพันธไมตรีของผู้นำประเทศ
4. อื่นๆ กลุ่มโอเปคได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินกู้ ส่วนไทยก็ได้ให้ความสะดวกแก่ประเทศเหล่านี้โดยการให้นักวิชาการมาศึกษาดูงานในไทย โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ระบบนิเวศทะเล
ระบบนิเวศนี้ประกอบด้วยชายฝั่งทะเลซึ่งมีทั้งหาดชายและหาดหิน ชาย
หาดเป็นบริเวณที่ถูกนํ้าทะเลซัดขึ้นมาตลอดเวลา พื้นที่ผิวของหาดทรายและ
หาดหินจะเปียกและแห้งสลับกันในช่วงวันหนึ่งๆ ที่เป็นเวลานํ้าขึ้นนํ้าลง ทำให้
อุณหภูมิหนึ่งๆ ของบริเวณดังกล่าวแตกต่างกันไปด้วย นอกจากนี้นํ้าทะเลมี
สารประกอบพวกเกลือละลายอยู่หลายชนิด สัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลจึงต้องมี
การปรับสภาพทางสรีระสำหรับการดำรงชีพอยู่ในนํ้าเค็มด้วย
จากฝั่งทะเลออกไปจะเป็นบริเวณไหล่ทวีป ทะเล และมหาสมุทร ซึ่ง
เป็นแหล่งที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นับเป็นแหล่งอาหารแหล่ง
ใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์นานา
ชนิด หญ้าทะเล สาหร่ายทะเล ที่สัตว์นํ้าพวกกุ้ง หอย ปู ปลา พะยูน ปลา
วาฬ โลมา และอื่นๆ อาศัยเป็นอาหารในการเจริญเติบโต

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Sanam Chandra Palace This palace, located 2 kms. west of Phra Pathom Chedi, was constructed by the command of King Rama VI in the year 1907 when he was the Crown Prince. The compound occupies an area of 355 acres and houses a group of throne halls and pavilions with an elegant and unusual mixture of classical French, English Tudor and traditional Thai architecture. Most buildings are now used as government offices. The two buildings opened as attractions are Phra Tamnak Chali Mongkhon At, a Western style building with a statue of "Ya-Le" - the king's pet dog and Phra Tamnak Mari Ratchabanlang where King Rama VI's personal utensils, royal photographs, and writings are exhibited.