วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พายุโซนร้อนที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย เดือน สิงหาคม-กันยายน


ทัน “Storm surge” มหันตภัยร้ายแห่งท้องทะเล

หากลองนึกภาพเหตุการณ์ภัยธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอดีต แน่นอนว่า ภาพของเหตุการณ์ไล่ตั้งแต่พายุแฮเรียต ในปี พ.ศ. 2505 ที่ซัดแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช จนราบเป็นหน้ากลอง ถัดมาในปี พ.ศ. 2532 มหาวิบัติพายุเกย์ ก็สร้างความเจ็บช้ำให้แก่ชาวบ้านหลายพื้นที่ใน จังหวัดชุมพร จนมาถึงช่วงปี พ.ศ. 2540 พายุลินดา ก็ซัดซ้ำรอยเดิมใน จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ จังหวัดเพชรบุรี

เหตุการณ์ทั้งหมดคงอยู่ในความทรงจำของคนไทยหลายคน กระทั่งล่าสุดในช่วงต้นปีที่ผ่านก็เกิดเหตุพิบัติภัยจากพายุนาร์กีสที่ถล่มประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า จนสร้างความเสียหายเกินคณานับ ซึ่งภาพเหตุการณ์ที่ไล่เรียงมานี้ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าล้วนแล้วเกิดขึ้นจากความรุนแรงของพายุที่พัดเข้าหาชายฝั่งในลักษณะที่เรียกว่า “Storm surge”

Storm surge มหัตภัยร้ายเกินมองข้าม

นาวาเอก กตัญญู ศรีตังนันท์ ผู้บังคับหมวดเรืออุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ให้คำอธิบายว่า Storm surge คือ ปรากฏการณ์คลื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับพายุหมุนโซนร้อนที่ยกระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นกว่าปกติ อันเนื่องมาจากความกดอากาศต่ำที่ปกคลุม ณ บริเวณนั้น ซึ่งเวลาที่หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวผ่านไปพร้อมกับศูนย์กลางของพายุ ทำให้แรงกดนั้นยกระดับน้ำจนกลายเป็นโดมน้ำขึ้นมา โดยเคลื่อนตัวจากทะเลซัดเข้าหาชายฝั่ง

Storm surge มีความเหมือนหรือแตกต่างจาการการเกิดสึนามิ หรือไม่?

นาวาเอก กตัญญู ชี้แจงว่า สิ่งที่คล้ายกัน คือ รูปแบบการเคลื่อนตัวที่เป็นเหมือนคลื่นขนาดใหญ่แล้วพัดเข้าชายฝั่ง แต่ที่แตกต่างกัน คือ ลักษณะของการเกิด คือ สึนามิ เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ของแผ่นดินไหวใต้ทะเล ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์ซัดเข้าชายฝั่ง แต่กับ Storm surge จะเกิดขึ้นโดยมีตัวแปรจากพายุ

ส่วนความเสียหายนั้น คิดว่า Storm surge จะเลวร้ายมากกว่า กล่าวคือ การเกิดสึนามิจะเกิดขึ้นวันไหนก็ได้ โดยท้องฟ้าอาจจะแจ่มใส อากาศเป็นปกติ เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วทางฝั่งอันดามันของไทย แต่หากเป็น Storm surge จะเกิดขึ้นพร้อมกับพายุ ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นวันที่ท้องฟ้าปั่นป่วน ไม่แจ่มใส สภาพอากาศเลวร้าย มีการก่อตัวของเมฆฝน ฝนตกอย่างหนัก ลมพัดแรง บริเวณชายฝั่งเกิดคลื่นโถมกระแทกอย่างหนัก คลื่นในทะเลสูง แต่เมื่อศูนย์กลางของพายุเคลื่อนเข้ามา ก็จะหอบเอาโดมน้ำขนาดใหญ่ซัดเข้ามาอีกครั้ง ดังนั้น ความเสียหายจึงเพิ่มเป็นทวีคูณ

เมื่อ Storm surge เกิดมาพร้อมกับพายุโซนร้อน เพราะฉะนั้นเมื่อพายุเข้ามา เราก็จะเห็นสัญญาณเตือนหลายอย่าง เช่น การเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา และจากการสังเกตลักษณะอากาศที่จะค่อยๆ เลวร้ายลง ทำให้เรารู้ตัวล่วงหน้าหลายวัน และสามารถหาทางอพยพได้ทัน แต่กับสึนามิอาจจะไม่รู้ได้เลย เพราะบางครั้งก็เกิดขึ้นในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีสัญญาณบอกเหตุร้ายแต่อย่างใด แต่ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ในช่วงหลายปีมานี้ก็เป็นอะไรที่คาดเดา พยากรณ์ได้ยากเช่นกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเกิดภาวะโลกร้อน ที่ทำให้สภาพอากาศในทุกมุมโลกเกิดความแปรปรวน และยิ่งทวีความรุนแรงของเหตุการณ์ขึ้น สิ่งนี้จึงเรื่องที่ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด”

กรุงเทพฯ ไม่น่าห่วงเท่าชายฝั่งอ่าวไทย

นาวาเอก กตัญญู อธิบายต่อว่า เมื่อเป็นเช่นนี้หลายคนจึงตั้งคำถามว่าพื้นที่ของกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ชายฝั่ง แล้วจะได้รับผลกระทบที่เกิดจาก Storm surge หรือไม่นั้น ต้องบอกว่าถึงแม้พื้นที่เสี่ยงการเกิดพายุจะอยู่ในอ่าวไทย แต่บริเวณก้นอ่าว หรือบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา กลับไม่เคยพบการเกิดพายุหมุนโซนร้อนมาก่อน ที่พบก็จะมีแต่ปลายๆ ของหางพายุดีเปรสชัน ซึ่งก็ไม่ได้เกิดความรุนแรง แต่พื้นที่ที่น่าห่วง คือ ตลอดแนวพื้นที่ราบชายฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่ จังหวัดชุมพรลงไป ซึ่งในอดีตพื้นที่เหล่านี้ ก็เคยเกิดพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ซัดถล่มมาแล้ว หากมองในพื้นที่บริเวณชายฝั่งของกรุงเทพฯ โอกาสที่จะเกิดน้อย เนื่องจากพื้นที่ของกทม. เป็นพื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน แต่หากว่าเกิดพายุพัดผ่านเข้ามาบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาจริงอิทธิพลจะเข้ามาถึงตัวเมืองแน่นอน โดยเฉพาะร่องแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จะมีมวลน้ำทะลักเข้ามาไหลเอ่อท่วมพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ

นาวาเอก กตัญญู บอกอีกว่า ทางฝั่งของทะเลอันดามันก็ยังพอเบาใจได้เนื่องจากการเกิดของ Storm surge จะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนตัวของศูนย์กลางพายุเข้าหาชายฝั่ง แต่หากสังเกตเส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุที่เกิดขึ้นในไทยนั้นจะเริ่มพัดขึ้นฝั่งอ่าวไทยแล้วพัดออกจากฝั่งทางอันดามันไปพม่า บังคลาเทศ อินเดีย ทำให้ฝั่งอันดามันเป็นการเคลื่อนตัวออกนอกชายฝั่ง ซึ่งจะไม่ได้รับผลกระทบจาก Storm surge เหมือนอ่าวไทย แต่ที่ไม่ควรมองข้ามคือหากพายุหมุนเกิดขึ้นภายในแผ่นดิน และบริเวณแหล่งน้ำภายในเช่น กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หากหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนผ่านแหล่งน้ำเหล่านั้น น้ำก็จะยกตัวขึ้นมาเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในทะเลและก็อาจทำให้เกิดคลื่นพัดเข้าสู่ฝั่งได้เช่นกัน

“ที่ผ่านมา หลายคนให้ความสนใจในการเฝ้าระวังสึนามิ เพราะยังเป็นของใหม่ในบ้านเรา แต่ความจริงแล้วภัยคุกคามที่แท้จริงคงหนีไม่พ้น Storm surge เพราะโอกาสที่จะเกิดพายุหมุนโซนร้อนที่พัดเข้าอ่าวไทยเกิดได้ถี่กว่า สึนามิหลายเท่า”

ปลูกป่าชายเลน แนวป้องกันชั้นยอด

ในส่วนของการเฝ้าระวัง และวิธีการเตรียมรับมือนั้น รศ.อัปสรสุดา ศิริพงษ์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า ระยะเสี่ยงการเกิดพายุจะอยู่ที่ 3 เดือนอันตราย เพราะจากสถิติการเกิดพายุหมุนโซนร้อนที่ขึ้นทางฝั่งอ่าวไทยนั้น เมื่อเริ่มเข้าสู่เดือนตุลาคม พายุจะก่อตัวทางตอนใต้ของปลายแหลมญวนทางเขมร และเมื่อถึงช่วงเดือนพฤศจิกายนพายุจะเคลื่อนลงจากแหลมญวนจนเคลื่อนสู่อ่าวไทย ไปตลอดจนถึงเดือนธันวาคมพายุจึงจะสลายไปในที่สุด

สำหรับในบ้านเรานั้นหลายคน กลัวว่า Storm surge จะเกิดผลกระทบต่อเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ แต่อยากให้อุ่นใจได้ว่า Storm surge คงเข้ามาไม่ถึง ที่ต้องระวังคือปัญหาเดิมๆ อย่างน้ำท่วม เพราะกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่รับน้ำ อีกทั้งภายในตัวเมืองชั้นในยังมีสิ่งปลูกสร้างสูงๆ ป้ายโฆษณาตามตึกต่างๆ ก็ควรระวังหากเกิดลมพายุรุนแรงเพราะจะพัดป้ายให้พัง และเกิดความเสียหายได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรหาทางป้องกันอย่างเร่งด่วน

การเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือกับ Storm surge นั้น อยากฝากให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยศึกษาลักษณะของการเกิด และความรุนแรงเพื่อที่จะได้หาทางหนีทีไล่ได้ทัน ซึ่งการหนีนั้นต้องมีหน่วยงานที่ร่วมทำแผนที่เสี่ยงภัย หากบริเวณไหนมีประชากรหนาแน่นบริเวณนั้นจะมีความเปราะบางมาก จึงต้องทำแผนที่ให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเมือท่องเที่ยว

“ วิธีการป้องกันมีอยู่หลายแนวทาง ทั้งการสร้างกำแพงป้องกัน แต่ก็ไม่ควรนำมาใช้กับบ้านเรา และอาจจะเป็นการสูญเงินอย่างมหาศาล ทางออกที่ดีที่สุด คือ การช่วยกันรักษาป่าชายเลนตามแนวชายฝั่ง หรือปลูกป่าชายเลนเพิ่มในพื้นที่ชายฝั่งซึ่งจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่จะช่วยลดความรุนแรงได้ อีกทั้งควรกำหนดเป็นหลักสูตรในเรื่องของภัยพิบัติลงในแบบเรียน เพราะเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังให้เด็กเกิดความตื่นตัว จึงต้องสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้น และต้องมีการซ้อมแผนเตือนภัยอยู่ตลอดเวลา เมื่อถึงคราวเกิดขึ้นจริง จะได้ช่วยลดความเสียหายจากชีวิตและทรัพย์สินได้ ”



Storm surge or tidal surge is an offshore rise of water associated with a low pressure weather system, typically a tropical cyclone. Storm surge is caused primarily by high winds pushing on the ocean's surface. The wind causes the water to pile up higher than the ordinary sea level. Low pressure at the center of a weather system also has a small secondary effect, as can the bathymetry of the body of water. It is this combined effect of low pressure and persistent wind over a shallow water body which is the most common cause of storm surge flooding problems. The term "storm surge" in casual (non-scientific) use is storm tide; that is, it refers to the rise of water associated with the storm, plus tide, wave run-up, and freshwater flooding. When referencing storm surge height, it is important to clarify the usage, as well as the reference point. National Hurricane Center tropical cyclone reports reference storm surge as water height above predicted astronomical tide level, and storm tide as water height above NGVD-29.

In areas where there is a significant difference between low tide and high tide, storm surges are particularly damaging when they occur at the time of a high tide. In these cases, this increases the difficulty of predicting the magnitude of a storm surge since it requires weather forecasts to be accurate to within a few hours. Storm surges can be produced by extratropical cyclones, such as the "Halloween Storm" of 1991 and the Storm of the Century (1993), but the most extreme storm surge events occur as a result of tropical cyclones. Factors that determine the surge heights for landfalling tropical cyclones include the speed, intensity, size of the radius of maximum winds (RMW), radius of the wind fields, angle of the track relative to the coastline, the physical characteristics of the coastline and the bathymetry of the water offshore. The SLOSH (Sea, Lake, and Overland Surges from Hurricanes) model is used to simulate surge from tropical cyclones.[1] The Galveston Hurricane of 1900, a Category 4 hurricane that struck Galveston, Texas, drove a devastating surge ashore; between 6,000 and 12,000 lives were lost, making it the deadliest natural disaster ever to impact the United States.[2] The second deadliest natural disaster in the United States was the storm surge from Lake Okeechobee in the 1928 Okeechobee Hurricane which swept across the Florida peninsula during the night of September 16. The lake surged over its southern bank, virtually wiping out the settlements on its south shore. The estimated death toll was over 2,500; many of the bodies were never recovered. Only two years earlier, a storm surge from the Great Miami Hurricane of September 1926 broke through the small earthen dike rimming the lake's western shore, killing 150 people at Moore Haven, Florida[3]. The storm surge that accompanied the New England Hurricane of 1938 killed as many as 700 people when it struck Long Island, New York and southeastern New England.



Storm surge or tidal surge is an offshore rise of water associated with a low pressure weather system, typically a tropical cyclone. Storm surge is caused primarily by high winds pushing on the ocean's surface. The wind causes the water to pile up higher than the ordinary sea level. Low pressure at the center of a weather system also has a small secondary effect, as can the bathymetry of the body of water. It is this combined effect of low pressure and persistent wind over a shallow water body which is the most common cause of storm surge flooding problems. The term "storm surge" in casual (non-scientific) use is storm tide; that is, it refers to the rise of water associated with the storm, plus tide, wave run-up, and freshwater flooding. When referencing storm surge height, it is important to clarify the usage, as well as the reference point. National Hurricane Center tropical cyclone reports reference storm surge as water height above predicted astronomical tide level, and storm tide as water height above NGVD-29.

In areas where there is a significant difference between low tide and high tide, storm surges are particularly damaging when they occur at the time of a high tide. In these cases, this increases the difficulty of predicting the magnitude of a storm surge since it requires weather forecasts to be accurate to within a few hours. Storm surges can be produced by extratropical cyclones, such as the "Halloween Storm" of 1991 and the Storm of the Century (1993), but the most extreme storm surge events occur as a result of tropical cyclones. Factors that determine the surge heights for landfalling tropical cyclones include the speed, intensity, size of the radius of maximum winds (RMW), radius of the wind fields, angle of the track relative to the coastline, the physical characteristics of the coastline and the bathymetry of the water offshore. The SLOSH (Sea, Lake, and Overland Surges from Hurricanes) model is used to simulate surge from tropical cyclones.[1] The Galveston Hurricane of 1900, a Category 4 hurricane that struck Galveston, Texas, drove a devastating surge ashore; between 6,000 and 12,000 lives were lost, making it the deadliest natural disaster ever to impact the United States.[2] The second deadliest natural disaster in the United States was the storm surge from Lake Okeechobee in the 1928 Okeechobee Hurricane which swept across the Florida peninsula during the night of September 16. The lake surged over its southern bank, virtually wiping out the settlements on its south shore. The estimated death toll was over 2,500; many of the bodies were never recovered. Only two years earlier, a storm surge from the Great Miami Hurricane of September 1926 broke through the small earthen dike rimming the lake's western shore, killing 150 people at Moore Haven, Florida[3]. The storm surge that accompanied the New England Hurricane of 1938 killed as many as 700 people when it struck Long Island, New York and southeastern New England.