วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส

หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำว่า 0°C (32°F) และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จากเครื่องสร้างหิมะเทียม(snow cannon)


รูปทรงของเกล็ดหิมะ






รูปเกล็ดหิมะ โดย วิลสัน เบ็นท์ลีย์(Wilson Bentley) ค.ศ. 1902ความสมมาตรของส่วนที่ยื่นออกมาของเกล็ดหิมะนั้น จะเป็นสมมาตรแบบหกด้านเสมอ เนื่องมาจากเกล็ดน้ำแข็งปกตินั้นมีโครงสร้างผลึกหกเหลี่ยม(หรือที่รู้จักกันในชื่อ ice Ih) บนระนาบฐาน(basal plane)

คำอธิบายถึงความสมมาตรของเกล็ดหิมะนั้นโดยทั่วไป มีอยู่ 2 คำอธิบาย คือ

อาจเป็นไปได้ที่จะมีการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างส่วนที่ยื่นออกของเกล็ดหิมะ ซึ่งส่งผลให้การงอกออกของแต่ละก้านนั้นส่งผลถึงกัน ตัวอย่างของรูปแบบที่ใช้ในการสื่อสารนั้นอาจเป็น ความตึงผิว หรือ โฟนอน(phonon)
คำอธิบายที่สองนี้จะค่อนข้างแพร่หลายกว่า คือ แต่ละก้านของเกล็ดหิมะนั้นจะงอกออกโดยไม่ขึ้นแก่กัน ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิ ความชื้น และสภาพแวดล้อมอื่นๆ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเทียบกับขนาดของเกล็ดหิมะแล้วเชื่อว่าสภาพแวดล้อมจะมีสภาพที่เหมือนกันในช่วงขนาดสเกลของเกล็ดหิมะ ซึ่งส่งผลให้การงอกออกของก้านในแต่ละด้านนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขเหมือนกัน จึงทำให้ลักษณะการงอกออกนั้นเหมือนกัน ในลักษณะเดียวกับที่รูปแบบการเติบโตของวงแหวนอายุในแกนของต้นไม้ในสภาพแวดล้อมเดียวกันจะมีรูปร่างเหมือนๆกัน ความแตกต่างของสภาพแวดล้อมที่ระดับสเกลใหญ่กว่าเกล็ดหิมะนั้นส่งผลให้รูปของเกล็ดหิมะแต่ละเกล็ดนั้นมีรูปร่างที่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม แนวความคิดที่ไม่มีเกล็ดหิมะใดที่มีรูปร่างเหมือนกันนั้นไม่ถูกต้อง เกล็ดหิมะสองเกล็ดนั้นมีโอกาสเหมือนกันได้ เพียงแต่โอกาสนั้นน้อยมาก American Meteorological Societyได้บันทึกการค้นพบเกล็ดหิมะที่มีรูปร่างเหมือนกันโดย แนนซี่ ไนท์(Nancy Knight) ซึ่งทำงานที่National Center for Atmospheric Research ผลึกที่ค้นพบนั้นไม่เชิงเป็นเกล็ดหิมะซะทีเดียวที่เป็นรูป ปริซึมหกเหลี่ยมกลวง (hollow hexagonal prism)

Les adjectifs démonstratifs คือคำคุณศัพท์ที่ใช้ประกอบคำนามเพื่อชี้เฉพาะว่าเป็น
" อันนี้, อันนั้น, คนนี้, คนนั้น "

Masculin Masculin [commençant par
une voyelle ou un "h" muet] Féminin
Singulier ce livre cet homme cette maison
Pluriel ces livres ces hommes ces maisons


adjectif démonstratif ต้องสัมพันธ์กับเพศและพจน์ของคำนามที่ไปประกอบ :

- Ce livre est à moi. [หนังสือเล่มนี้เป็นของฉัน] (livre : masculin singulier)

- Cet homme est sympathique. [ผู้ชายคนนี้เป็นคนมีอัธยาศัยดี]
(homme : masculin singulier commençant par un "h" muet)

- Cette fille est mignonne. [เด็กผู้หญิงคนนี้น่ารัก] (fille : féminin singulier)

- Ces gens sont du Nord. [ผู้คนเหล่านี้มาจากภาคเหนือ] (gens : masculin pluriel)

- Ces oiseaux sont rares. [นกเหล่านี้เป็นนกหายาก] (oiseaux : masculin pluriel commençant par une voyelle)

- Ces fleurs sentent bon. [ดอกไม้เหล่านี้มีกลิ่นหอม] (fleurs : féminin pluriel)



Les pronoms démonstratifs คือคำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อชี้เฉพาะว่าเป็น
" อันนี้, อันนั้น, คนนี้, คนนั้น , สิ่งนี้, สิ่งนั้น, นี่, นั่น " มี 2 ประเภท คือ :

1. ประเภทที่ใช้แทนคำนามที่รู้เพศและพจน์ของคำนามแล้ว มี 4 รูป :

Masculin Féminin
Singulier celui celle
Pluriel ceux celles

2. ประเภทที่ใช้แทนคำนามที่ไม่รู้เพศและพจน์ของคำนาม เรียก "pronom démonstratif neutre" [เป็นกลาง]
มี 2 ชุด แต่แบ่งเป็น 4 รูป :

1 " Ce " = " สิ่งนี้, สิ่งนั้น, นี่, นั่น "

2 " Ça ", " Ceci ", " Cela " = " สิ่งนี้, สิ่งนั้น, นี่, นั่น "

L'impératif
การใช้ (emploi) :

- ขอร้อง [une prière] : Excusez-moi (โปรดยกโทษให้ฉันด้วย = ขอโทษ)

- สั่ง [un ordre] : Viens ici ! (มานี่)

- ห้าม [une défense] (อยู่ในรูปปฎิเสธเท่านั้น) : Ne jouez pas dans la rue (อย่าเล่นในถนน)

- แนะนำ [un conseil] : Soyez prudent ! (จงระมัดระวัง)

รูปแบบ (fomes) : impératif คือคำกริยาที่ผันอยู่ในกาลปัจจุบัน (présent) โดยไม่มีสรรพนามประธาน (pronom sujet)

โดยทั่วไปจะใช้กับ บุรุษที่ 2 เอกพจน์ (Tu), บุรุษที่ 2 พหูพจน์ (Vous) และ บุรุษที่ 1 พหูพจน์ (Nous) :

Tu regardes Regarde !

Vous faites attention Faites attention !

Nous partons Partons !

สำหรับ verbe "être" และ "avoir" มีรูป impératif ที่มาจากรูป subjonctif :
être avoir
Sois gentil ! Aie de la gentillesse !
Soyez heureux ! Ayez confiance en moi !
Soyons à l' heure ! Ayons de la patience


สำหรับ verbe "vouloir" และ "savoir" ก็มีรูป impératif ที่แผลงมาจากรูป subjonctif :

vouloir savoir
- Sache que je ne suis pas disponible !
- Sachons qu'il est difficile !
Veuillez attendre un instant ! Sachez la vérité !

[ subjonctif de vouloir : que tu veuilles, que nous voulions, que vous vouliez]

[ subjonctif de savoir : que tu saches, que nous sachions, que vous sachiez]

จะไม่มี "s" เมื่อใช้กับบุรุษที่ 2 เอกพจน์ สำหรับกริยากลุ่มที่ 1 , กริยากลุ่มที่ 3

ที่ผันเหมือนกลุ่มที่ 1 : [ouvrir : Tu ouvres Ouvre / couvrir : Tu couvres Couvre /

offrir : Tu offres Offre / Cueillir : Tu cueilles Cueille ....

รวมทั้งกริยา "aller" : Tu vas Va ]

แต่ถ้ารูปคำสั่งเหล่านี้อยู่หน้า สรรพนาม "en" และ "y" จะต้องมี "s" ดังเดิม :

(ด้วยเหตุผลในเรื่องการออกเสียง) :

- Vas-y !

- Manges-en !


ประโยคคำสั่งปฎิเสธ กริยาีรูป impératif จะอยู่ระหว่าง "ne.............pas" :

- Ne rentre pas tard !

- Ne commençons pas sans elle !

- N' ayez pas peur !

ประโยคคำสั่งของกริยา pronominal จะต้องมีสรรพนามประกอบด้วยเสมอ :

- Dépêche-toi !

- Ne vous inquiétez pas !

- Amusons-nous !

คำสรรพนาม (pronom complément) ในประโยคคำสั่งจะเปลี่ยนตำแหน่งและรูป :

* ในประโยคคำสั่งบอกเล่า สรรพนามจะอยู่หลังกริยา และ "me" กับ "te" จะเปลี่ยนเป็น "moi" และ "toi" :

- Faites-le !

- Attends-moi !

- Assieds-toi !

สังเกต ! จะมีเครื่องหมาย ยัติภังค์ (trait d' union) ระหว่างกริยากับสรรพนามในประโยคคำสั่งบอกเล่า

* ในประโยคคำสั่งปฎิเสธ สรรพนามจะอยู่หน้ากริยา และ "me" กับ "te" จะไม่เปลี่ยนรูป

- Ne te fâche pas !

- N' y allons pas !

- Ne m' en veuillez pas !

นอกจากจะใช้สั่งกับ "tu", "vous" และ "nous" แล้ว เรายังสามารถสั่ง(ordre)กับบุรุษที่ 3 หรือแสดงความปรารถนา

(souhait) ได้อีกด้วย โดยกริยาจะอยู่ในรูป subjonctif และนำหน้าด้วย "Que"

- Qu' il vienne me voir tout de suite ! (ให้เขามาหาฉันเดี๋ยวนี้) [คำสั่ง]

- Qu' elle soit heureuse ! (ขอให้หล่อนมีความสุข) [ความปรารถนา]

- Que Dieu te protège ! (ขอให้พระเจ้าคุ้มครองเธอ) [ความปรารถนา]

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

LES EXPRESSIONS ESSENTIELLES [สำนวนหลักๆที่ใช้บรรยายสภาพอากาศ (ซึ่งจะอยู่ในรูป impersonnel)]
• Quel temps fait-il ? [สภาพอากาศเป็นอย่างไร]
• Il fait + adjectif. [Il fait beau. / Il fait mauvais.]
• Il fait + nom et adjectif. [Il fait une belle journée]
• Il fait de + nom. [Il fait du soleil. / Il fait du vent]
• Il fait + température. [Il fait 30°. / Il fait vingt-cinq degrés]
• Il y a + nom [Il y a du soleil. / Il y a du vent.]

LE TEMPS QU'IL FAIT [สภาพอากาศ] :


Il fait beau (temps) . อากาศดี(ท้องฟ้าแจ่มใส)
Il fait bon / doux. อากาศดี(ไม่ร้อนไม่หนาว) / อากาศอุ่น
Il fait froid. อากาศหนาว
Il fait - 5°. อุณหภูมิลบ 5 องศา
Il fait un froid de canard. (หนาวแบบเป็ด) = อากาศหนาวมาก
Il fait frais. อากาศเย็น
Il fait mauvais. อากาศไม่ดี
Il fait sec. อากาศแห้ง
Il fait lourd / humide / orageux. อากาศหนัก(อบอ้าว) / ชื้น / ครึ้มฟ้าครึ้มฝน
Il fait chaud / Il fait une chaleur insupportable / une chaleur torride / "Quelle canicule !" อากาศร้อน / อากาศร้อนแทบทนไม่ไหว / ร้อนสุดๆ
Il fait (du) soleil. / Il fait un soleil radieux. มีแดด, แดดออก / แดดจ้า
Il fait un temps splendide / un temps magnifique. อากาศแจ่มใสดีมาก
Il fait un temps affreux / un temps épouvantable. อากาศไม่ดี, อากาศเลวร้าย
Il fait gris / Il fait sombre. ท้องฟ้ามืดครึ้ม / อากาศครึ้ม
Il fait un temps pluvieux. อากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน
Le temps est clair. ท้องฟ้าสว่าง
Le temps est au beau fixe. อากาศดีทั้งวัน
Le temps est changeant / incertain. อากาศแปรปรวน
Le temps s'améliore. อากาศดีขึ้น
Le temps se dégrade. อากาศแย่ลง
La journée est pluvieuse / orageuse. เป็นวันที่ครึ้มฟ้าครื้มฝน / ฝนฟ้าคะนอง
La journée est ensoleillée. เป็นวันที่มีแดดดี
C'est une belle journée. เป็นวันที่อากาศแจ่มใส
Il y a du soleil. มีแดด, แดดออก
Il y a du vent. มีลม, ลมพัด
Il y a du brouillard. / Il y a un brouillard épais. มีหมอก, หมอกหนา, หมอกจัด
Il y a de la brume. มีหมอกบางๆ
Il y a de la pluie. มีฝน, ฝนตก
Il y a du de la neige. มีหิมะ, หิมะตก
Il y a des nuages. มีเมฆมาก
Il y a du verglas. มีแผ่นนํ้าแข็ง(ที่มองไม่เห็น)บนผิวถนน
Il y a du givre. มีนํ้าค้างแข็งจับที่กระจกหรือบนใบไม้
Il y a un orage. มีพายุฝนฟ้าคะนอง
Il y a une tempête. มีพายุ
Il y a une éclaircie. / Ça s'éclaircit. มีแดดออกสลับหลังฝนตก
Il neige. / Il tombe de la neige. หิมะตก
La neige tombe à gros flocons. หิมะตกเป็นปุย(ก้อน)โตๆ
La neige fond. / Ça fond. หิมะละลาย
Il gèle. นํ้าเป็นนํ้าแข็ง
Il pleut. / Il tombe de la pluie. ฝนตก

LA TEMPÉRATURE [อุณหภูมิ] :

• Quelle est la température ? / Il fait combien ? [อุณหภูมิเท่าไหร่]
• Il fait 30° (degrés). / La température est de 30° (degrés) [อุณหภูมิ 30 องศา]
• La température est très élevée. [อุณหภูมิสูงมาก]
• La température est très basse. [อุณหภูมิตํ่ามาก]
• La température est en hausse. [อุณหภูมิสูงขึ้น]
• La température est en baisse. [อุณหภูมิลดลง]
• La température descend jusqu'à zéro. [อุณหภูมิลดลงถึงศูนย์องศา]

L' ÉTAT DU CIEL [สภาพท้องฟ้า] :

• Le ciel est gris. [ท้องฟ้าครึ้ม]
• Le ciel est noir. [ท้องฟ้ามืดครึ้ม]
• Le ciel est couvert. [ท้องฟ้าปิด]
• Le ciel est nouageux. [ท้องฟ้ามีเมฆครึ้ม]
• Le ciel est dégagé, se dégage. / Ça se dégage. [ท้องฟ้าเปิด]
• Le soleil est généreux. [แดดดี]
• Le soleil a fait son apparition à 6 heures ce matin. [ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6 นาฬิกาเช้าวันนี้ี]
• Le soleil se lève. [ดวงอาทิตย์ขึ้น]
• Le soleil se couche. [ดวงอาทิตย์ตก]

LA PLUIE, LE VENT, LA TEMPÊTE [ฝน, ลม, พายุ] :

• Il pleut fort / à torrents / à verse. [ฝนตกหนัก]
• Il y a une pluie battante. [ฝนตกหนัก]
• Il y a des averses. [ฝนตกหนัก(แต่ช่วงสั้นๆ)]
• Il tombe une petite pluie fine. / Il tombe de la bruine. [ฝนตกปรอยๆ]
• Il n'est pas tombé une goutte de pluie depuis plusieurs mois. [ฝนไม่ตกเลยสักหยดเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว]

• Le vent souffle à 80 kilomètres à l'heure. [ลมพัดด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง]
• Il y a une tornade, un ouragan. [มีพายุทอร์นาโด]
• La météo annonce une forte tempête dans le sud. [อุตุนิยมแจ้งว่าจะมีลมพายุพัดแรงบริเวณภาคใต้]

• Un orage a éclaté : on entend les coups de tonnerre, on voit les éclairs et parfois les foudres.
[เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง : เราได้ยินเสียงฟ้าร้องเห็นฟ้าแลบและบางครั้งก็เห็นฟ้าผ่า]
• Il grêle (il y a un orage de grêle) [ลูกเห็บตก (มีพายุลูกเห็บ)]
• Il y a un bel arc-en-ciel. [มีรุ้งกินนํ้าสวยๆ]