วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550


ประเทศฝรั่งเศส
จำนวนประชากร : 58.3 ล้านคน ( 01 มกราคม 2539) เป็นอันดับที่ 17 ของโลกความหนาแน่นของประชากร : 105 คน ต่อตารางกิโลเมตร
พื้นที่ : มีพื้นที่ 551,000 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดในยุโรป หรือหนึ่งในสี่ของพื้นที่ในประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หากมองดูจากแผนที่ประเทศฝรั่งเศสแล้ว จะเห็นว่าเป็นเหมือนรูปหกเหลี่ยม ดังนั้นบางครั้งคนฝรั่งเศสจึงเรียกประเทศของตนว่า L'hexagone ซึ่งแปลว่ารูปหกเหลี่ยม


การปกครอง : การปกครองแบบรัฐธรรมนูญปี 1958 แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี 1962 มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ (คนปัจจุบัน President Jacques Chirac) เข้าดำรงตำแหน่งโดยการเลือกตั้ง ซึ่งมีขึ้นทุกๆ 7 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ รัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก (สส) ที่มาจากการเลือกตั้งทุกๆ 5 ปี วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งทางอ้อมทุกๆ 9 ปี และ 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเลือกตั้งทุกๆ 3 ปี
เพลงชาติ ลา มาร์แซยแยสา (La Marseillaise) แต่งโดย รูเชต์ เดอ ลิลล์ (Rouget De Lisle) โดยคำสั่งของนายกรัฐมนตรีเมืองสตราสบูร์กเมื่อปี 1792 เดิมมีชื่อว่า าเพลงรบกองทัพแห่งไรน์า (Chant de Guerre pour I'Armee du Rhine) ซึ่งมีท่วงทำนองและเนื้อร้องที่เร้าใจ ทำให้เพลงนี้ติดปากชาวฝรั่งเศส และเปลี่ยนมาเป็นเพลงประจำชาติในชื่อของ าลา มาร์แซยแยสา เมื่อปี 1795

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550


Le temps
Le temps est un concept développé pour représenter la variation du monde : l'Univers n'est jamais figé, les éléments qui le composent bougent, se transforment et évoluent pour l'observateur qu'est l'homme. Si on considère l'Univers comme un système dans son ensemble, l'observateur trouve qu'il a plusieurs états. Ces états, passés, présents et futurs, et leur mesure, concourent à donner un concept du temps. Au cours de l'histoire, et au sein des nombreux peuples de la Terre, la conceptualisation du temps a elle-même changé et s'est adaptée à des évolutions profondes, tout autant factuelles qu'idéologiques. Philosophes, scientifiques et hommes de la rue ont bien souvent des vues différentes sur ce qu'est le temps, et les progrès des uns influencent les autres depuis des siècles. La psychanalyse et la psychologie apportent également des éléments nouveaux au XXe siècle. Un questionnement profond s'est porté, dans toutes ces disciplines, sur la nature intime du temps : est-ce une propriété fondamentale de notre univers, ou plus simplement le produit de notre observation intellectuelle, de notre perception ? La somme des réponses de chacun ne suffit évidemment pas à dégager un concept satisfaisant et juste du temps, d'autant que ce questionnement est aporétique. Mais l'examen minutieux de chacune d'entre elles et de leurs relations apportera d'intéressantes réponses. Toutes ne sont pas théoriques, loin s'en faut : la « pratique » changeante du temps par les hommes est d'une importance capitale.
De fait, la
mesure du temps a évolué et cela ne fut pas sans conséquence sur l'idée que les hommes en eurent au fil de l'histoire. De rudimentaire qu'elle était aux premiers âges, sa mesure a gagné aujourd'hui une précision reposant sur l'atome. Ses progrès irréguliers sont donc à relier directement aux transformations du concept « temps. » Ses retombées ont affecté bien plus que la simple estimation des durées : la vie quotidienne des hommes s'en est trouvée changée bien sûr, mais aussi et surtout la pensée, qu'elle fût de nature scientifique, philosophique ou encore religieuse. Pour établir une vue générale du temps aujourd'hui, il faut en premier lieu parcourir l'histoire de ce concept, qui fait lui-même notre Histoire. Quelques remarques générales permettent d'aborder ce problème du temps de façon pragmatique.




















วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550


มหาสมุทรแอตแลนติก
เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส"
มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) สามารถแยกได้เป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง
ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้อยู่ทางตะวันตกของมหาสมุทร ส่วนทางตะวันออก คือ ทวีปยุโรปและแอฟริกา มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกตรงมหาสมุทรอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือ และทางผ่านเดรก (Drake Passage) ที่อยู่ทางใต้ จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์

เมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกัน มหาสมุทรแอตแลนติกกินพื้นที่ประมาณ 106,400,000 ตารางกิโลเมตร แต่หากไม่รวมทะเล จะมีพื้นที่ 82,400,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 354,700,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร แต่หากไม่รวมทะเล คิดเป็นปริมาตร 323,600,000 กม.³
มหาสมุทรแอตแลนติกมีความลึกเฉลี่ย (เมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกัน) 3,332
เมตร (10,932 ฟุต) และเมื่อไม่รวมทะเล เท่ากับ 3,926 เมตร (12,881 ฟุต) จุดที่ลึกที่สุด คือ เปอร์โตริโกเทรนช์ (Puerto Rico Trench) มีความลึก 8,605 เมตร (28,232 ฟุต) ความกว้างของมหาสมุทรมีค่า 2,848 กิโลเมตร เมื่อวัดจากบราซิลถึงไลบีเรีย และ 4,830 กิโลเมตร เมื่อวัดจากสหรัฐ ฯ ถึงตอนเหนือของแอฟริกา

หลากหลายเหตุผลที่คนหันมาใช้ภาษา"วิบัติ"


เดี๋ยวนี้ ภาษวิบัติชักจะครองโลกอินเทอร์เน็ต หลายคนหันมาใช้ภาษาวิบัติกัน ซึ่งภาษาวิบัตินี้จะนิยมมากในหมู่คนใช้อินเทอร์เน็ต คนใช้ส่วนมากจะเป็นพวกวัยรุ่นหรืออาจจะเป็นพวกเด็กๆ(ที่มีคอมพิวเตอร์) อาจจะ กล่าวได้ว่า ภาษาวิบัตินี้ต้นกำเนิดมาจาก อินเทอร์เน็ตก็ได้
ถ้าไปถามหลายๆคนเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลายคนอาจจะให้เหตุผลที่ต่างๆกันไป ดังที่จะรวบรวมไว้ในนี้..........
๑.เพราะว่าคำพวกนี้พิมพ์ได้ง่าย เข้าใจนะว่า คำภาษาไทยหลายๆคำอาจจะพิมพ์ยุ่งยากมากเรื่อง ดังเช่น คำว่า เดี๋ยว ก็เปลี่ยนเป็น เด๋ว และคำว่า ก็ ก็เปลี่ยนเป็น ก้อ เหตุผลเหรอ มันพิมพ์ง่ายไงล่ะ แต่คุณอาจจะไม่รู้หรอกนะว่า คุณกำลังทำลายภาษาไทย โดยไม่รู้ตัว
๒.เคยมีวัยรุ่นคนหนึ่ง เคยให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาษาวิบัติว่า ที่หันมาใช้ก็เพราะมันดูแนวๆดี ทันสมัย ถูกใจวัยรุ่น ก็เลยถามว่ามันแนวตรงไหน คำตอบที่ได้มาคือ "ก็มันดูเหมือนว่าเด็กไทยมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดค้นคำใหม่ๆได้ขึ้นมาใช้ โดยไม่ต้องเขียนของเก่าให้มันเปลืองหมึก หรือ พิมพ์ให้มันเมื่อย" ก็ฟังแล้วคิดว่า มันก็สะดวกสบายแต่ว่า ความสะดวกสบายของคุณกำลัง เป็นความกลุ้มใจของ พ่อขุนรามคำแหง อยู่ เพราะว่า พ่อขุนรามคำแหง ท่านอุตส่าห์คิดค้นภาษาไทยขึ้นมา แต่รุ่นหลังมาทำลาย อย่างที่เค้ากล่าวน่ะแหล่ะว่า "ผู้ใหญ่สร้าง วัยรุ่นทำลาย"
๓.เพื่อแสดงอารมณ์ ว่าตอนนี้กำลัง ผิดหวังหรือเบื่อหน่าย อย่างที่วัยรุ่นเค้าเรียกกันว่า"เซ็ง"น่ะแหล่ะ เพราะบางทีถ้าผิดหวังก็อาจจะลากเสียงคำว่า "ไม่" เป็น "ม่าย..ย..." ถ้าอารมณ์ดีก็อาจจะสั้นหน่อยเป็น "มั่ย"
๔."ก็มันขำๆดีนี่" เหตุผลนี้ฉันก็ไม่รู้หรอกนะไอ้ที่ว่า"ขำๆ"น่ะหมายความว่าอะไร แหม...พวกคุณนี่ ถ้าจะอารมณ์ดีเหลือเกิน คิดคำที่เป็นภาษาวิบัติมาใช้กันเนี่ย ป่านนี้พ่อขุนรามคำแหงคงนั่งขำไม่ออกแล้วล่ะ
๕."ไม่เห็นเป็นไรเลย มันก็อ่านเหมือนๆกันแหละ"ฉันอยากจะบอกพวกคุณว่ามันอ่านเหมือนกันก็จริงนะ แต่คอมพิวเตอร์มันต้องใช้ตาอ่านไม่ใช่หูฟังนะ ถ้าเกิดมีเด็กมาอ่านและนำไปใช้เนี่ย นำไปเขียนเนี่ย ถ้าเป็นยังงี้จริงๆนะ ภาษาไทยจะเพี้ยนไปหมดแน่ๆ เชื่อพี่เถอะ
๖."ก็มันเผลอนี่นา"หลายคนอาจพูดยังงี้ อยากถามว่า ถ้าคุณไม่คิดค้นมันมาและใช้มัน คุณจะเผลอได้เหรอ?
๗."ก็คำมันดูน่ารักนี่คะ"อยากรู้ว่ามันน่ารักตรงไหนคะเนี่ย?ตายๆๆ...ถ้าคนมองเป็นภาษาที่น่ารักหมดเนี่ย สงสัยว่าคงต้องร้องเพลง"ไปน่ารักไกลๆหน่อย"ซะแล้ว
๘."ก็เวลาเล่นMSNมันพิมพ์เร็วทันใจนี่คะ"รู้แล้วค่ะมันเร็วแต่ว่า...ถ้ามันไม่ใช่ภาษาวิบัติมันก็ไม่เสียเวลาเป็นชั่วโมงหรอกค่ะ แค่เสียเวลาเล็กๆน้อยๆเพื่ออณุรักษ์แค่นี้ถึงกับทำไม่ได้เลยเหรอคะ?
๙."ก็มันเพิ่งหัดพิมพ์ยังพิมพ์ไม่คล่องนี่"อันนี้ไม่ว่านะคะ แต่ถ้าคล่องแล้ว ควรจะพิมพ์คำให้ถูกนะ บางคนไม่คล่อง ก็ไม่คล่องตลอดกาล ใช้ไม่ได้
๑๐.พิมพ์ให้มันดูสั้นลงเพราะเปลืองเนื้อที่ อยากถามอีกว่าคุณซื้อเนื้อที่ในการพิมพ์หรือไงถึงต้องประหยัดเนื้อที่?
๑๑."ทันสมัยดีนี่...คนที่เขาใช้คำเป็นคงไม่วิปริตมาใช้หรอก บางทีพวกคนที่ใช้คำเป็นคงเล่นแชทไม่เป็นหรอก"อันนี้มาจากความคิดเห็นชาวYenta4เลยค่ะ ข้อนี้ลองคิดเองนะคะ เพราะมันไม่มีอะไรจะพูดแล้ว
๑๒."มันดูสบายๆไม่เป็นทางการดีนี่"อยากถามว่ามันสบายตรงไหนคะ อ๋อ...รู้แล้วๆ...มันสื่ออารมณ์สบายๆเหรอคะ...พวกคุณคงคิดนะว่าภาษาทางการนี้คงเครียดมากเลยใช่ไหม?ถามตัวเองดูนะคะ

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550



ประวัติของช็อกโกแลต












ช็อกโกแลตถูกค้นพบมาตั้งแต่สองพันปีที่แล้ว หลังสมัยพระนางคลีโอพัตราแห่งอียิปต์ เป็นผลผลิตที่ได้จากเมล็ดของต้นคาเคา (cacao) ในป่าร้อนชื้นของทวีปอเมริกา จัดอยู่ในตระกูล Theobroma cacao แปลว่า "อาหารแห่งทวยเทพ"
ชนกลุ่มแรกที่รู้จักทำช็อกโกแลตเป็นอารยธรรมโบราณที่อยู่ในเม็กซิโก และอเมริกากลาง ชนกลุ่มนี้ได้แก่ชาวมายา และชาวแอซเทค แห่งอารยธรรมเมโสอเมริกา คนเหล่านี้เอาเมล็ดคาเคามาบดแล้วผสมกับเครื่องปรุงหลายชนิดเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มที่มีรสขมเฝื่อน นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้วช็อกโกแลตยังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเชิงศาสนาและสังคมด้วย
ชาวมายา (ค.ศ.250-900) เป็นชนชาติแรกที่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้ค้นพบความลับของต้นคาเคา โดยพวกเขาได้นำต้นคาเคามาจากป่าฝนและปลูกไว้ที่สวนหลังบ้าน พอออกฝักก็เก็บเอาเมล็ดมาหมักบ้าง คั่วบ้าง และยังบดเป็นเนื้อเหนียว อยากชงเป็นเครื่องดื่มก็เอามาผสมน้ำ โรยพริกไท แป้งข้าวโพด ก็จะได้เครื่องดื่มช็อกโกแลตรสซาบซ่ามีฟองฟ่อง
ต่อมาราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 อาณาจักรของชาวแอซเทคครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของอารยธรรมเมโสอเมริกา โดยมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่เมืองปัจจุบันเรียกว่า เม็กซิโก ซิตี้ ชาวแอซเทคได้ซื้อขายเมล็ดคาเคากับชาวมายาและชนชาติอื่น และยังเรียกเก็บค่าบรรณาการจากพลเมืองของตนและเชลยเป็นเมล็ดคาเคา โดยใช้แทนค่าเงิน ชาวแอซเทคนิยมดื่มช็อกโกแลตขมเช่นเดียวกับชาวมายายุคแรก โดยปรุงรสชาติให้ซู่ซ่าขึ้นด้วยเครื่องเทศ ชาวเมโสอเมริกาสมัยนั้นยังไม่มีใครปลูกอ้อยก็เลยไม่มีใครใส่น้ำตาลกัน
เล่ากันว่า คนมายายุคคลาสสิกชอบดื่มช็อกโกแลตกันในวาระพิเศษ ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์จะนิยมดื่มกันมาก ส่วนชาวแอซเทค บรรดาผู้ปกครองระดับสูง พระ ทหารยศสูง และพ่อค้าที่มีหน้ามีตาเท่านั้นที่มีสิทธิลิ้มรสเครื่องดื่มศักดิ์สิทธิ์นี้ ช็อกโกแลตมีบทบาทสำคัญในพิธีของราชวงศ์และศาสนา พระใช้เมล็ดคาเคาเป็นเครื่องสักการะเทพเจ้า และดื่มในพิธีสำคัญ
สำหรับที่มาของชื่อช็อกโกแลตนั้นยังไม่มีใครอธิบายได้แจ่มชัด แต่มีความเป็นไปได้สองทาง ทางแรกเป็นคำที่ผันมาจากคำว่า "ช็อคโกลัจ" ในภาษามายา ซึ่งหมายถึง มาดื่มช็อกโกแลตด้วยกัน อีกทางหนึ่งอธิบายว่าน่าจะมาจากภาษามายาเช่นกัน คือ " chocol" แปลว่า ร้อน ผสมกับคำว่า "atl" ของแอซเทคที่แปลว่า น้ำ พอมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า chocolatl และมาเป็น chocolate ต่อมาในยุโรป

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Musée du Louvre

Le musée du Louvre est le plus grand musée parisien par sa surface (160 106 m² dont 58 470 consacrés aux expositions). Situé au cœur de la ville de Paris, entre la rive droite de la Seine et la rue de Rivoli, dans le Ier arrondissement, le bâtiment est un ancien palais royal. La statue équestre de Louis XIV constitue le point de départ de l'axe historique, mais le palais n'est pas aligné sur cet axe. C'est l'un des plus anciens musées et le troisième plus grand au monde en terme de superficie. Le Louvre possède une longue histoire de conservation artistique et historique de la France, depuis les rois capétiens jusqu'à nos jours.

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ลักษณะภูมิอากาศ
ประเทศฝรั่งเศสมีภูมิประเทศหลายแบบ มีทั้งภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชายฝั่งมหาสมุทร และที่ราบตอนกลางของ ประเทศ ดังนั้นจึงมีลักษณะภูมิอากาศ ( le climlat ) แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนี้
1. ภูมิอากาศแบบชายฝั่งมหาสมุทร (le climat océanique ou atlantique) ทางด้านตะวันตกของประเทศ ลักษณะอากาศ จะไม่หนาวในฤดูหนาว แต่ฤดูร้อนจะเย็นและชื้น ฝนตกอ่อนๆตลอดปี
2. ภูมิอากาศแบบทวีป (le climat continental) คือ ส่วนที่อยู่ในประเทศแถบ และทางตะวันออกของประเทศ อากาศหนาวในฤดูหนาว และในฤดูร้อนอากาศร้อน มีพายุฝน
3. ภูมิอากาศแบบภูเขา (le climat montagnard) อากาศจะหนาวมาก มีหิมะตกในฤดูหนาวและมีเวลายาวนานกว่าฤดูร้อน ที่ไม่ร้อนจัด แต่อากาศดี บริเวณนี้อาจมีฝนตกทุกฤดู
4. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (le climat méditerranée) ในฤดูหนาวอากาศไม่หนาว แต่ฤดูร้อน จะร้อนมาก แสงแดดจัด เป็นบริเวณใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจึงมีเมืองตากอากาศริมฝั่งมากมาย
----------------------------------

ฤดูในประเทศฝรั่งเศส ( les saisons en France ) มี 4 ฤดู ดังนี้
1. ฤดูใบไม้ผลิ ( le printemps ) เริ่มประมาณเดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน ฤดูนี้อากาศจะอบอุ่น ต้นไม้เริ่มผลิใบเขียว ชอุ่มและออกดอก บานสะพรั่ง เป็นฤดูแห่งความสวยงาม ( la saison des fleurs ) ท้องฟ้าสดใส
2. ฤดูร้อน ( l' été ) เริ่มประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน อากาศร้อนจึงเป็นฤดูแห่งวันหยุด ( vacances d'été ) ชาวฝรั่งเศสมักไปเที่ยวพักผ่อน ตากอากาศตามชายฝั่งทะเล
3. ฤดูใบไม้ร่วง (l'automne) เริ่มประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม อากาศแปรปรวน ท้องฟ้ามืดครึ้ม ลมแรง ฝนตกบ่อย ใบไม้เหลืองแห้งและร่วงมากมาย บริเวณป่าไม้จึงมีสีสันของใบไม้ที่หลากหลาย ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสมี ลมแรง เรียกกันว่า ลม mistral
4. ฤดูหนาว (l'hiver) เริ่มเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม มีฝนและหิมะตกเป็นประจำ มีวันหยุดฤดูหนาว ( vacances de neige ) เพื่อการพักผ่อน และเล่นกีฬาฤดูหนาว เช่น การเล่นสกี ล้อเลื่อนบนหิมะ ฯ ตามภูเขา

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

LES FRAISIERS DE SAVOIE












Ces conseils m'ont été donnés par la famille Deshaires du GAEC "Le Corti", producteurs de fraisiers et d'aromatiques à Lornay 74150 Tel. 04 50 62 18 31. Ils seront présents lors du prochain Festival de la pomme de terre le 15 août à Crevant en Berry. Après ces conseils de plantation et de culture, vous trouverez les caractéristiques des variétés produites par la famille Deshaires.











La Plantation du fraisier
Comptez au moins 60 fraisiers pour une famille de quatre personnes. Prenez plusieurs variétés pour étaler les récoltes, moitié non-remontants, moitié remontants.
Préparez bien le sol et apportez beaucoup de compost ou vieux fumier, pensez que si vous plantez sur plastique, vous ne pourrez plus faire aucun apport jusqu'à la fin de la culture (trois ans minimum).
Espacez les lignes de 50 cm, les plants de 40 cm surtout avec les nouvelles variéts très vigoureuses. N’enterrez jamais le collet. En terrain humide ou lourd, façonnez des petites buttes et plantez au sommet, le fraisier a hoorreur d’avoir les racines dans l’eau.
S’il ne pleut pas, arrosez régulièrement les deux premiers mois pour assurer la reprise.
Plutôt que le platique, nous vous conseillons un paillage naturel à base de paillettes de lin ou de chanvre, ou d’écorces de pin compostées ou d’aiguilles de pins ou de mélèze, etc...
La culture du fraisier
Ne touchez pas à la plantation en période de gel, attendez le mois de mars pour nettoyer les plants. Enlevez (et brûlez) les feuilles sèches, rectifiez le paillage brassé par l’hiver.
Supprimez régulièrement les stolons (ou fils) émis par le pied principal, ceci afin de maintenir un plant fort et productif
.