วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พายุโซนร้อนที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย เดือน สิงหาคม-กันยายน


ทัน “Storm surge” มหันตภัยร้ายแห่งท้องทะเล

หากลองนึกภาพเหตุการณ์ภัยธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอดีต แน่นอนว่า ภาพของเหตุการณ์ไล่ตั้งแต่พายุแฮเรียต ในปี พ.ศ. 2505 ที่ซัดแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช จนราบเป็นหน้ากลอง ถัดมาในปี พ.ศ. 2532 มหาวิบัติพายุเกย์ ก็สร้างความเจ็บช้ำให้แก่ชาวบ้านหลายพื้นที่ใน จังหวัดชุมพร จนมาถึงช่วงปี พ.ศ. 2540 พายุลินดา ก็ซัดซ้ำรอยเดิมใน จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ จังหวัดเพชรบุรี

เหตุการณ์ทั้งหมดคงอยู่ในความทรงจำของคนไทยหลายคน กระทั่งล่าสุดในช่วงต้นปีที่ผ่านก็เกิดเหตุพิบัติภัยจากพายุนาร์กีสที่ถล่มประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า จนสร้างความเสียหายเกินคณานับ ซึ่งภาพเหตุการณ์ที่ไล่เรียงมานี้ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าล้วนแล้วเกิดขึ้นจากความรุนแรงของพายุที่พัดเข้าหาชายฝั่งในลักษณะที่เรียกว่า “Storm surge”

Storm surge มหัตภัยร้ายเกินมองข้าม

นาวาเอก กตัญญู ศรีตังนันท์ ผู้บังคับหมวดเรืออุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ให้คำอธิบายว่า Storm surge คือ ปรากฏการณ์คลื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับพายุหมุนโซนร้อนที่ยกระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นกว่าปกติ อันเนื่องมาจากความกดอากาศต่ำที่ปกคลุม ณ บริเวณนั้น ซึ่งเวลาที่หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวผ่านไปพร้อมกับศูนย์กลางของพายุ ทำให้แรงกดนั้นยกระดับน้ำจนกลายเป็นโดมน้ำขึ้นมา โดยเคลื่อนตัวจากทะเลซัดเข้าหาชายฝั่ง

Storm surge มีความเหมือนหรือแตกต่างจาการการเกิดสึนามิ หรือไม่?

นาวาเอก กตัญญู ชี้แจงว่า สิ่งที่คล้ายกัน คือ รูปแบบการเคลื่อนตัวที่เป็นเหมือนคลื่นขนาดใหญ่แล้วพัดเข้าชายฝั่ง แต่ที่แตกต่างกัน คือ ลักษณะของการเกิด คือ สึนามิ เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ของแผ่นดินไหวใต้ทะเล ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์ซัดเข้าชายฝั่ง แต่กับ Storm surge จะเกิดขึ้นโดยมีตัวแปรจากพายุ

ส่วนความเสียหายนั้น คิดว่า Storm surge จะเลวร้ายมากกว่า กล่าวคือ การเกิดสึนามิจะเกิดขึ้นวันไหนก็ได้ โดยท้องฟ้าอาจจะแจ่มใส อากาศเป็นปกติ เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วทางฝั่งอันดามันของไทย แต่หากเป็น Storm surge จะเกิดขึ้นพร้อมกับพายุ ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นวันที่ท้องฟ้าปั่นป่วน ไม่แจ่มใส สภาพอากาศเลวร้าย มีการก่อตัวของเมฆฝน ฝนตกอย่างหนัก ลมพัดแรง บริเวณชายฝั่งเกิดคลื่นโถมกระแทกอย่างหนัก คลื่นในทะเลสูง แต่เมื่อศูนย์กลางของพายุเคลื่อนเข้ามา ก็จะหอบเอาโดมน้ำขนาดใหญ่ซัดเข้ามาอีกครั้ง ดังนั้น ความเสียหายจึงเพิ่มเป็นทวีคูณ

เมื่อ Storm surge เกิดมาพร้อมกับพายุโซนร้อน เพราะฉะนั้นเมื่อพายุเข้ามา เราก็จะเห็นสัญญาณเตือนหลายอย่าง เช่น การเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา และจากการสังเกตลักษณะอากาศที่จะค่อยๆ เลวร้ายลง ทำให้เรารู้ตัวล่วงหน้าหลายวัน และสามารถหาทางอพยพได้ทัน แต่กับสึนามิอาจจะไม่รู้ได้เลย เพราะบางครั้งก็เกิดขึ้นในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีสัญญาณบอกเหตุร้ายแต่อย่างใด แต่ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ในช่วงหลายปีมานี้ก็เป็นอะไรที่คาดเดา พยากรณ์ได้ยากเช่นกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเกิดภาวะโลกร้อน ที่ทำให้สภาพอากาศในทุกมุมโลกเกิดความแปรปรวน และยิ่งทวีความรุนแรงของเหตุการณ์ขึ้น สิ่งนี้จึงเรื่องที่ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด”

กรุงเทพฯ ไม่น่าห่วงเท่าชายฝั่งอ่าวไทย

นาวาเอก กตัญญู อธิบายต่อว่า เมื่อเป็นเช่นนี้หลายคนจึงตั้งคำถามว่าพื้นที่ของกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ชายฝั่ง แล้วจะได้รับผลกระทบที่เกิดจาก Storm surge หรือไม่นั้น ต้องบอกว่าถึงแม้พื้นที่เสี่ยงการเกิดพายุจะอยู่ในอ่าวไทย แต่บริเวณก้นอ่าว หรือบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา กลับไม่เคยพบการเกิดพายุหมุนโซนร้อนมาก่อน ที่พบก็จะมีแต่ปลายๆ ของหางพายุดีเปรสชัน ซึ่งก็ไม่ได้เกิดความรุนแรง แต่พื้นที่ที่น่าห่วง คือ ตลอดแนวพื้นที่ราบชายฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่ จังหวัดชุมพรลงไป ซึ่งในอดีตพื้นที่เหล่านี้ ก็เคยเกิดพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ซัดถล่มมาแล้ว หากมองในพื้นที่บริเวณชายฝั่งของกรุงเทพฯ โอกาสที่จะเกิดน้อย เนื่องจากพื้นที่ของกทม. เป็นพื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน แต่หากว่าเกิดพายุพัดผ่านเข้ามาบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาจริงอิทธิพลจะเข้ามาถึงตัวเมืองแน่นอน โดยเฉพาะร่องแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จะมีมวลน้ำทะลักเข้ามาไหลเอ่อท่วมพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ

นาวาเอก กตัญญู บอกอีกว่า ทางฝั่งของทะเลอันดามันก็ยังพอเบาใจได้เนื่องจากการเกิดของ Storm surge จะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนตัวของศูนย์กลางพายุเข้าหาชายฝั่ง แต่หากสังเกตเส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุที่เกิดขึ้นในไทยนั้นจะเริ่มพัดขึ้นฝั่งอ่าวไทยแล้วพัดออกจากฝั่งทางอันดามันไปพม่า บังคลาเทศ อินเดีย ทำให้ฝั่งอันดามันเป็นการเคลื่อนตัวออกนอกชายฝั่ง ซึ่งจะไม่ได้รับผลกระทบจาก Storm surge เหมือนอ่าวไทย แต่ที่ไม่ควรมองข้ามคือหากพายุหมุนเกิดขึ้นภายในแผ่นดิน และบริเวณแหล่งน้ำภายในเช่น กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หากหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนผ่านแหล่งน้ำเหล่านั้น น้ำก็จะยกตัวขึ้นมาเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในทะเลและก็อาจทำให้เกิดคลื่นพัดเข้าสู่ฝั่งได้เช่นกัน

“ที่ผ่านมา หลายคนให้ความสนใจในการเฝ้าระวังสึนามิ เพราะยังเป็นของใหม่ในบ้านเรา แต่ความจริงแล้วภัยคุกคามที่แท้จริงคงหนีไม่พ้น Storm surge เพราะโอกาสที่จะเกิดพายุหมุนโซนร้อนที่พัดเข้าอ่าวไทยเกิดได้ถี่กว่า สึนามิหลายเท่า”

ปลูกป่าชายเลน แนวป้องกันชั้นยอด

ในส่วนของการเฝ้าระวัง และวิธีการเตรียมรับมือนั้น รศ.อัปสรสุดา ศิริพงษ์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า ระยะเสี่ยงการเกิดพายุจะอยู่ที่ 3 เดือนอันตราย เพราะจากสถิติการเกิดพายุหมุนโซนร้อนที่ขึ้นทางฝั่งอ่าวไทยนั้น เมื่อเริ่มเข้าสู่เดือนตุลาคม พายุจะก่อตัวทางตอนใต้ของปลายแหลมญวนทางเขมร และเมื่อถึงช่วงเดือนพฤศจิกายนพายุจะเคลื่อนลงจากแหลมญวนจนเคลื่อนสู่อ่าวไทย ไปตลอดจนถึงเดือนธันวาคมพายุจึงจะสลายไปในที่สุด

สำหรับในบ้านเรานั้นหลายคน กลัวว่า Storm surge จะเกิดผลกระทบต่อเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ แต่อยากให้อุ่นใจได้ว่า Storm surge คงเข้ามาไม่ถึง ที่ต้องระวังคือปัญหาเดิมๆ อย่างน้ำท่วม เพราะกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่รับน้ำ อีกทั้งภายในตัวเมืองชั้นในยังมีสิ่งปลูกสร้างสูงๆ ป้ายโฆษณาตามตึกต่างๆ ก็ควรระวังหากเกิดลมพายุรุนแรงเพราะจะพัดป้ายให้พัง และเกิดความเสียหายได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรหาทางป้องกันอย่างเร่งด่วน

การเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือกับ Storm surge นั้น อยากฝากให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยศึกษาลักษณะของการเกิด และความรุนแรงเพื่อที่จะได้หาทางหนีทีไล่ได้ทัน ซึ่งการหนีนั้นต้องมีหน่วยงานที่ร่วมทำแผนที่เสี่ยงภัย หากบริเวณไหนมีประชากรหนาแน่นบริเวณนั้นจะมีความเปราะบางมาก จึงต้องทำแผนที่ให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเมือท่องเที่ยว

“ วิธีการป้องกันมีอยู่หลายแนวทาง ทั้งการสร้างกำแพงป้องกัน แต่ก็ไม่ควรนำมาใช้กับบ้านเรา และอาจจะเป็นการสูญเงินอย่างมหาศาล ทางออกที่ดีที่สุด คือ การช่วยกันรักษาป่าชายเลนตามแนวชายฝั่ง หรือปลูกป่าชายเลนเพิ่มในพื้นที่ชายฝั่งซึ่งจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่จะช่วยลดความรุนแรงได้ อีกทั้งควรกำหนดเป็นหลักสูตรในเรื่องของภัยพิบัติลงในแบบเรียน เพราะเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังให้เด็กเกิดความตื่นตัว จึงต้องสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้น และต้องมีการซ้อมแผนเตือนภัยอยู่ตลอดเวลา เมื่อถึงคราวเกิดขึ้นจริง จะได้ช่วยลดความเสียหายจากชีวิตและทรัพย์สินได้ ”



Storm surge or tidal surge is an offshore rise of water associated with a low pressure weather system, typically a tropical cyclone. Storm surge is caused primarily by high winds pushing on the ocean's surface. The wind causes the water to pile up higher than the ordinary sea level. Low pressure at the center of a weather system also has a small secondary effect, as can the bathymetry of the body of water. It is this combined effect of low pressure and persistent wind over a shallow water body which is the most common cause of storm surge flooding problems. The term "storm surge" in casual (non-scientific) use is storm tide; that is, it refers to the rise of water associated with the storm, plus tide, wave run-up, and freshwater flooding. When referencing storm surge height, it is important to clarify the usage, as well as the reference point. National Hurricane Center tropical cyclone reports reference storm surge as water height above predicted astronomical tide level, and storm tide as water height above NGVD-29.

In areas where there is a significant difference between low tide and high tide, storm surges are particularly damaging when they occur at the time of a high tide. In these cases, this increases the difficulty of predicting the magnitude of a storm surge since it requires weather forecasts to be accurate to within a few hours. Storm surges can be produced by extratropical cyclones, such as the "Halloween Storm" of 1991 and the Storm of the Century (1993), but the most extreme storm surge events occur as a result of tropical cyclones. Factors that determine the surge heights for landfalling tropical cyclones include the speed, intensity, size of the radius of maximum winds (RMW), radius of the wind fields, angle of the track relative to the coastline, the physical characteristics of the coastline and the bathymetry of the water offshore. The SLOSH (Sea, Lake, and Overland Surges from Hurricanes) model is used to simulate surge from tropical cyclones.[1] The Galveston Hurricane of 1900, a Category 4 hurricane that struck Galveston, Texas, drove a devastating surge ashore; between 6,000 and 12,000 lives were lost, making it the deadliest natural disaster ever to impact the United States.[2] The second deadliest natural disaster in the United States was the storm surge from Lake Okeechobee in the 1928 Okeechobee Hurricane which swept across the Florida peninsula during the night of September 16. The lake surged over its southern bank, virtually wiping out the settlements on its south shore. The estimated death toll was over 2,500; many of the bodies were never recovered. Only two years earlier, a storm surge from the Great Miami Hurricane of September 1926 broke through the small earthen dike rimming the lake's western shore, killing 150 people at Moore Haven, Florida[3]. The storm surge that accompanied the New England Hurricane of 1938 killed as many as 700 people when it struck Long Island, New York and southeastern New England.



Storm surge or tidal surge is an offshore rise of water associated with a low pressure weather system, typically a tropical cyclone. Storm surge is caused primarily by high winds pushing on the ocean's surface. The wind causes the water to pile up higher than the ordinary sea level. Low pressure at the center of a weather system also has a small secondary effect, as can the bathymetry of the body of water. It is this combined effect of low pressure and persistent wind over a shallow water body which is the most common cause of storm surge flooding problems. The term "storm surge" in casual (non-scientific) use is storm tide; that is, it refers to the rise of water associated with the storm, plus tide, wave run-up, and freshwater flooding. When referencing storm surge height, it is important to clarify the usage, as well as the reference point. National Hurricane Center tropical cyclone reports reference storm surge as water height above predicted astronomical tide level, and storm tide as water height above NGVD-29.

In areas where there is a significant difference between low tide and high tide, storm surges are particularly damaging when they occur at the time of a high tide. In these cases, this increases the difficulty of predicting the magnitude of a storm surge since it requires weather forecasts to be accurate to within a few hours. Storm surges can be produced by extratropical cyclones, such as the "Halloween Storm" of 1991 and the Storm of the Century (1993), but the most extreme storm surge events occur as a result of tropical cyclones. Factors that determine the surge heights for landfalling tropical cyclones include the speed, intensity, size of the radius of maximum winds (RMW), radius of the wind fields, angle of the track relative to the coastline, the physical characteristics of the coastline and the bathymetry of the water offshore. The SLOSH (Sea, Lake, and Overland Surges from Hurricanes) model is used to simulate surge from tropical cyclones.[1] The Galveston Hurricane of 1900, a Category 4 hurricane that struck Galveston, Texas, drove a devastating surge ashore; between 6,000 and 12,000 lives were lost, making it the deadliest natural disaster ever to impact the United States.[2] The second deadliest natural disaster in the United States was the storm surge from Lake Okeechobee in the 1928 Okeechobee Hurricane which swept across the Florida peninsula during the night of September 16. The lake surged over its southern bank, virtually wiping out the settlements on its south shore. The estimated death toll was over 2,500; many of the bodies were never recovered. Only two years earlier, a storm surge from the Great Miami Hurricane of September 1926 broke through the small earthen dike rimming the lake's western shore, killing 150 people at Moore Haven, Florida[3]. The storm surge that accompanied the New England Hurricane of 1938 killed as many as 700 people when it struck Long Island, New York and southeastern New England.

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปราสาทเขาพระวิหาร









กำแพงเมืองจีน
กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้นกว่า 2000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิ์องค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยกษัตริย์องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมา

มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกำแพงเมืองจีนที่หลายๆ คนยังไม่เคยทราบมาก่อน

1. เราไม่สามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนจากดวงจันทร์ ไม่มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนุษย์ แม้แต่อย่างเดียวที่สามารถมองเห็นจากดวงจันทร์ ในระดับ low Earth orbit เราสามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนโดยใช้ radar การมองเห็นกำแพงเมืองจีนเป็นไปได้ยากเนื่องจาก สีของกำแพงเมืองจีนจะกลืนไปกับสีของธรรมชาติ ก็คือสีของดิน หิน

2. กำแพงเมืองจีนไม่ใช่กำแพงยาวตลอด ความจริงแล้วกำแพงเมืองจีน ถูกสร้างขึ้นในหลายยุคหลายสมัยกินเวลานับพันปี โดยเป็นการเชื่อมต่อกำแพงแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน จนเป็นแนวทอดยาวหลายพันกิโลเมตร

3. กำแพงเมืองจีนเป็นเสมือนสุสานของผู้ก่อสร้าง มีการบันทึกไว้ว่า นักโทษจากสงครามและทาสกว่า 1 ล้านคนถูกใช้เป็นแรงงงานเพื่อก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ซึ่งจำนวนมากเสียชีวิตลงเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อย และความหิวโหย ซึ่งศพผู้เสียชีวิตก็จะถูกฝังอยู่ข้างใต้กำแพงนั่นเอง นานนับศตวรรษแล้ว ที่กำแพงเมืองจีนได้ชื่อว่าเป็นสุสานที่มีความยาวที่สุดในโลก เป็นที่กล่าวขานกันว่าทุกๆ หนึ่งฟุตของกำแพงเมืองจีนก็คือหนึ่งชีวิตของผู้ก่อสร้างกำแพง

4. ความยาวของกำแพงเมืองจีน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครทราบความยาวที่แท้จริงของกำแพงเมืองจีน ในภาษาจีน จะเรียกกำแพงเมืองจีนว่า "กำแพงยาวหมื่นลี้" (หนึ่งลี้มีความยาวประมาณ 1/3 ไมล์) โดยคร่าวๆ กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 4 พันไมล์ หรือ 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7 เมตร และกว้าง 5 เมตร

5. การก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ช่วยป้องกันการรุกรานได้หรือไม่ การเข้าครองอำนาจของมองโกล และแมนจู ทั้งสองครั้งเกิดขึ้นจากความอ่อนแอ ของราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในขณะนั้นๆ พวกเขาใช้โอกาสในขณะที่เกิดกบฏภายใน เข้ายึดครองประเทศจีน โดยมีการต่อต้านที่น้อยมาก

6. กำแพงเมืองจีนไม่ได้เป็นแค่กำแพง ทุกๆ 300 ถึง 500 หลา จะมีฐานบัญชาการเพื่อใช้สับเปลี่ยนเวรยามและใช้เป็นจุดสังเกตการณ์ี้ยังมีหอสังเกตการณ์กว่า 1 หมื่นแห่ง

7. กำแพงเมืองจีนเป็นเส้นทางคมนาคม ในระยะแรก ประโยชน์ของกำแพงเมืองจีนก็คือ มันช่วยให้การคมนาคมและขนส่งในเส้นทางทุรกันดาร เช่นตามเทือกเขาเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น

8. กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นโดยใช้อะไรเป็นส่วนประกอบ ก่อนที่จะมีการใช้อิฐในการก่อสร้าง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้น โดยใช้หิน ดิน และไม้ บางครั้งมีการแพ็คดินไว้ระหว่างไม้แผ่นใหญ่ และมัดไว้ด้วยกันโดยเสื่อทอ บริเวณใกล้กรุงปักกิ่ง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างโดยใช้หินอ่อน ในบางสถานที่กำแพงถูกสร้างโดยใช้หินแกรนิต บางแห่งก็ใช้ดินเผา ทางตะวันตกของจีน กำแพงถูกสร้างโดยใช้โคลน ทำให้ชำรุดได้ง่ายกว่า กำแพงเมืองจีนที่เราเห็นกันทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ถูกสร้างในราชวงศ์หมิง โดยใช้วัตถุที่ทนทานกว่าเช่นหิน

9. สภาพของกำแพงเมืองจีนในขณะนี้ รายงานผลการสำรวจของนักอนุรักษ์เมื่อปี 2004 กล่าวว่า ขณะนี้ กำแพงเมืองจีนที่ยาว 6,350 กิโลเมตร เหลือให้เห็นเพียง 1/3 เท่านั้น และกำลังสั้นลงเรื่อยๆ ปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดการดูแลและอนุรักษ์ โดยเฉพาะจากชาวไร่ชาวนาซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กำแพงเมืองจีน ไม่สนใจ ประกาศของรัฐบาลที่กำหนดให้กำแพงเมืองจีนเป็นสมบัติของชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551


ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนผาเป้ยตาดีของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 104 องศาตะวันออก 41 ลิปดา เดิมอยู่ในเขตหมู่บ้านภูมิซร็อล (แปลว่า บ้านต้นสน) ตำบลบึงมะลู (ปัจจุบันขึ้นกับตำบลเสาธงชัย) อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย ห่างจากจังหวัดศรีสะเกษ 110 กิโลเมตร หลังจากคำพิพากษาของศาลโลกในปี พ.ศ. 2505 แล้ว ปราสาทพระวิหารอยู่ในบ้านสวายจรุม ตำบลก็อนตวต อำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา ปราสาทตั้งอยู่ห่างจากปราสาทนครวัดในเมืองพระนคร 280 กิโลเมตร และห่างจากกรุงพนมเปญ 296 กิโลมตร[7]

ปราสาทพระวิหารมีความยาว 800 เมตร ตามแนวเหนือใต้ และส่วนใหญ่เป็นทางเข้ายาว และบันไดสูงถึงยอดเขา จนถึงส่วนปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ที่ยอดเขาทางใต้สุดของปราสาท (สูง 120 เมตรจากปลายตอนเหนือสุดของปราสาท, 525 เมตรจากพื้นราบของกัมพูชา และ 657 เมตรจากระดับน้ำทะเล[8]) แต่โครงสร้างปราสาทแห่งนี้ก็ยังแตกต่างอย่างมากจาก สถาปัตยกรรมปราสาทหินของหินโดยทั่วไปที่พบในพระนคร เพื่อจำลองเขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ตามคติความเชื่อของฮินดู

ทางเข้าสู่ปราสาทประธานนั้น มีโคปุระ (ซุ้มประตู[1]) คั่นอยู่ 5 ชั้น (ปกติจะนับจากชั้นในออกมา ดังนั้นโคปุระชั้นที่ 5 จึงเป็นส่วนที่ผู้เข้าชมจะพบเป็นส่วนแรก) โคปุระแต่ละชั้นก่อนถึงลานด้านหน้า จะผ่านบันไดหลายขั้น โคปุระแต่ละชั้นจึงเปลี่ยนระดับความสูงทีละช่วง นอกจากนี้โคปะรุยังบังมิให้ผู้ชมเห็นส่วนถัดไปของปราสาท จนกว่าจะผ่านทะลุแต่ละช่วงไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแลเห็นโครงสร้างปราสาททั้งหมดจากมุมใดมุมหนึ่งได้





สถาปัตยกรรม

ทับหลังสลักภาพพระกฤษณะกำลังรบกับอรชุน ที่โคปุระแห่งที่ 3ปราสาทพระวิหาร มีลักษณะเป็นแบบศิลปะบันทายศรี ลักษณะบางส่วนคล้ายคลึงกับพระวิหารของปราสาทนครวัด รูปรอยแกะสลักบนปราสาทสันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย มีพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพสูงสุดของศาสนา เชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะที่ทรงประทับบนยอดเขาไกรลาส ซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดของเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาลปราสาทพระวิหารจึงสร้างบนหน้าผาเป้ยตาดี หากมองจากข้างล่างผาจะเห็นตัวปราสาทเหมือนวิมานสวรรค์ลอยอยู่บนฟ้า[7]

ปราสาทประกอบด้วยสถาปัตยกรรมต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ปราสาทประธาน ระเบียงคด โคปุระ อาคารรูปกากบาท วิหาร บรรณาลัย และบันไดนาคพร้อมทางเดิน

ปราสาทพระวิหารมีลักษณะแผนผังที่ใช้แกนเป็นหลัก โดยจัดวางผังหันไปทางทิศเหนือ ซึ่งแตกต่างจากปราสาทอื่นๆ ซึ่งตามปกติมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อันเนื่องจากภูมิศาสตร์เป็นเครื่องกำหนดแล้ว ก็น่าจะเกิดจากปัจจัยอื่นบางประการที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับดินแดนเขมรสูงในอดีต ตัวปราสาทประธานเป็นจุดศูนย์กลางล้อมรอบด้วยระเบียงคดทั้งสี่ด้าน ปราศจากบรรณาลัยขนาบเบื้องหน้า การวางผังที่กำหนดตำแหน่งอาคารมีความสมบูรณ์ลงตัวตั้งแต่แรกเริ่มของการก่อสร้าง โดยไม่มีการแก้ไขต่อเติมบริเวณลานชั้นในภายหลัง วัสดุตัวปราสาทสร้างด้วยหินทรายและหินดาน โดยเทคนิคการก่อสร้างทำโดยนำก้อนศิลาทรายซึ่งตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดไล่เลี่ยกันวางซ้อนกันขึ้นไปตามรูปผังที่กำหนดไว้ โดยอาศัยน้ำหนักของแท่งศิลาทรายแต่ละก้อนกดทับกันเพียงอย่างเดียว มีส่วนยึดจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

OPEC



กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก เป็นองค์การนานาชาติ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือทางด้านนโยบายน้ำมัน และช่วยเหลือด้านเทคนิคและเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิก

ประวัติการก่อตั้ง
โอเปค จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ.2503 โดยประเทศอิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และเวเนซุเอลา ต่อมามีสมาชิกเพิ่มอีก 8 ประเทศ ได้แก่ กาตาร์ อินโดนีเซีย ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แอลจีเรีย ไนจีเรีย เอกวาดอร์ และกาบอง รวมมีสมาชิก 13 ประเทศ ต่อมาเอกวาดอร์ลาออก เมื่อ พ.ศ.2535 และกาบองลาออก เมื่อ พ.ศ.2538 ปัจจุบัน จึงเหลือสมาชิกเพียง 11 ประเทศ โอเปคเดิมมีสำนักงานใหญ่ อยู่มีนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมา พ.ศ.2508 ได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
ในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มโอเปค การขุดเจาะน้ำมันในประเทศสมาชิกต่างเป็นการลงทุนและดำเนินการโดยบริษัทน้ำมันต่างชาติ ประเทศเจ้าของบ่อน้ำมันได้รับค่าภาคหลวงตอบแทน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนน้อย การร่วมมือของกลุ่มโอเปคในช่วงนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายสำคัญ 3 ประการ คือ
1. เพื่อเจรจากับบริษัทน้ำมันผู้ได้รับสัมปทานในการตั้งกองทุนน้ำมันดับให้เท่ากันทุกประเทศ
2. เพื่อนำราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลมาจากการเจรจาใช้เป็นฐานในการคำนวณเป็นรายได้ของประเทศ
3. เพื่อเป็นอำนาจต่อรองในการยึดครองหรือโอนกิจการน้ำมันเป็นของรัฐต่อไป
กลุ่มโอเปคได้ดำเนินงานไปตาวัตถุประสงค์จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจและต่อมาเมื่อมีสามชิกเพิ่มขึ้นอีก 8 ประเทศ ทำให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้นและขยายวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกมากขึ้นคือ
1. เพื่อปกป้องราคาน้ำมันตกต่ำและเจรจาขายน้ำมันดับในเงือนไขที่ดี
2. เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทน้ำมันผู้ผลิตน้ำมันในอัตราที่สูงขึ้น
3. เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการประกาศเพิ่มราคาน้ำมัน

ผลการปฏิบัติงาน
ในปัจจุบันโอเปคเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลสูงมากทั้งต่อระบบเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ เพราะมนุษย์จำเป็นต้องใช้พลังงานที่มาจากน้ำมัน แต่ด้วยเหตุที่ประเทศสมาชิกของกลุ่มโอเปคมีสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรมแตกต่างกัน ทั้งยังมีปริมาณน้ำมันสำรองไม่เท่ากันด้วย การกำหนดราคาและโควตาการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปคในระยะหลังมานี้ มักไม่มีเอกภาพ กล่าวคือประเทศคูเวค กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่างเป็นประเทศที่มีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่มาก และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สามารถปฏิบัติตามมติของโอเปคได้ แต่ประเทศอิหร่านแม้มีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่มาก แต่หลังสงครามกับอิรักแล้วต้องลอบผลิตน้ำมันออกจำหน่ายเกินโควตาที่โอเปคให้ไว้ เพื่อนำเงินมาฟื้นฟูบูรณะประทศ
ประเทศอิรัก มีแหล่งน้ำมันสำรองมากประเทศหนึ่ง แต่ได้รับความเสียหายจากสงครามกับอิหร่านและพ่ายแพ้สงครามในการปิดล้อมคูเวต ซึ่งสหประชาชาติได้ออกมาตรการต่างๆ มากำหนด ทำให้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันได้อย่างจำกัด ส่วนประเทศไนจีเรียมีปริมาณน้ำมันสำรองน้อย เป็นประเทศยากจน และมีจำนวนประชากรมาก จึงต้องผลิตน้ำมันเกิดโควตาและจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าที่โอเปคกำหนด
กิจกรรมสำคัญที่โอเปคดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2516 เป็นต้นมา คือ การปรับราคาน้ำมันดิบ ซึ่งได้กระทำหลายครั้ง จนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกเหล่านี้มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยขึ้น และได้นำเงินตราเหล่านี้ไปใช้เสริมสร้างความมั่นคงและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น การซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อป้องกันประเทศ การสร้างโรงกลั่นน้ำมันเพื่อการส่งออก การส่งเสริมอุตสาหกรรมปิโตรเลียม การให้สวัสดิการและยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นต้น
นอกจากนี้ สมาชิกของกลุ่มโอเปคยังได้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศอาหรับที่มิได้เป็นสมาชิกของโอเปค และประเทศอื่นที่ประชากรบางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศโอเปค ส่วนใหญ่เป็นการติดต่อค้าขายน้ำมันและด้านแรงงานที่ไทยส่งไปยังประเทศเหล่านี้ ส่วนการติดต่อกันในด้านอื่นๆ นับว่ามีน้อยมาก พอสรุปได้ดังนี้
1. ทางด้านกาค้า ไทยยังมีการค้าขายกับกลุ่มโอเปค โดยการนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะประเทศโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย และสินค้าออกที่สำคัญของไทยที่ส่งไปยังกลุ่มโอเปค ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง
2. ทางด้านแรงงาน เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจ เพราะไทยได้จัดส่งแรงงานเข้าไปทำงานในประเทศกลุ่มโอเปคเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่ทางรัฐบาลไทยต้องติดตามและให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ประเทศกลุ่มโอเปคที่คนงานไทยไปทำงานมากในปัจจุบัน คือ ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต ทางด้านประเทศอิรัก ซึ่งเคยมีคนงานไทยไปทำงานกันมาก แต่หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียแล้วมีจำนวนคนงานไทยลดลง
3. ด้านการเมือง เป็นความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและการเยี่ยมเยือนเพื่อกระชับความสัมพันธไมตรีของผู้นำประเทศ
4. อื่นๆ กลุ่มโอเปคได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินกู้ ส่วนไทยก็ได้ให้ความสะดวกแก่ประเทศเหล่านี้โดยการให้นักวิชาการมาศึกษาดูงานในไทย โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ระบบนิเวศทะเล
ระบบนิเวศนี้ประกอบด้วยชายฝั่งทะเลซึ่งมีทั้งหาดชายและหาดหิน ชาย
หาดเป็นบริเวณที่ถูกนํ้าทะเลซัดขึ้นมาตลอดเวลา พื้นที่ผิวของหาดทรายและ
หาดหินจะเปียกและแห้งสลับกันในช่วงวันหนึ่งๆ ที่เป็นเวลานํ้าขึ้นนํ้าลง ทำให้
อุณหภูมิหนึ่งๆ ของบริเวณดังกล่าวแตกต่างกันไปด้วย นอกจากนี้นํ้าทะเลมี
สารประกอบพวกเกลือละลายอยู่หลายชนิด สัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลจึงต้องมี
การปรับสภาพทางสรีระสำหรับการดำรงชีพอยู่ในนํ้าเค็มด้วย
จากฝั่งทะเลออกไปจะเป็นบริเวณไหล่ทวีป ทะเล และมหาสมุทร ซึ่ง
เป็นแหล่งที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นับเป็นแหล่งอาหารแหล่ง
ใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์นานา
ชนิด หญ้าทะเล สาหร่ายทะเล ที่สัตว์นํ้าพวกกุ้ง หอย ปู ปลา พะยูน ปลา
วาฬ โลมา และอื่นๆ อาศัยเป็นอาหารในการเจริญเติบโต

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Sanam Chandra Palace This palace, located 2 kms. west of Phra Pathom Chedi, was constructed by the command of King Rama VI in the year 1907 when he was the Crown Prince. The compound occupies an area of 355 acres and houses a group of throne halls and pavilions with an elegant and unusual mixture of classical French, English Tudor and traditional Thai architecture. Most buildings are now used as government offices. The two buildings opened as attractions are Phra Tamnak Chali Mongkhon At, a Western style building with a statue of "Ya-Le" - the king's pet dog and Phra Tamnak Mari Ratchabanlang where King Rama VI's personal utensils, royal photographs, and writings are exhibited.

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ที่เกิดพายุหมุน

มหาสมุทรและทะเลจีนใต้ มีชื่อเรียกว่า พายุไต้ฝุ่น
ทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก " พายุเฮอริเคนและทอร์นาโด
อ่าวเบงกอลและทะเลอาหรับ " พายุไซโคลน
ทวีปออสเตรเลีย " พายุวิลลี่-วิลลี่

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

-L'OMC = L'Organisation Mondiale du Commerce = องค์การการค้าโลก
- se réunir (v.) = ประชุมกัน / réunion (n.f.) = การประชุม
- pays du Nord = ประเทศร่ำรวย / pays du Sud = ประเทศยากจน
- un accord (n.m.) = ข้อตกลง
- loi (n.f.) = กฎหมาย, กฎ, ระเบียบ
- triche (n.f.) = การโกง / tricher (v.) = โกง / tricheur (adj. et n.) = ที่โกง, คนโกง
- avantage (n.m.) = ประโยชน์, ข้อดี
- juste (adj.) = ยุติธรรม
- faire appel à = ร้องเรียนต่อ...
- s'occuper de = ดูแล, เป็นธุระ
- avoir accès à = เข้าถึง
- baisser (v.) = ลดลง /baisse (n.f.) = การลดลง
- droit de douane (n.m.) = กำแพงภาษี
- avoir droit à = มีสิทธ์ใน
- également = aussi = ด้วยเหมือนกัน
- subventionner (v.) = ให้เงินอุดหนุน / subvention (n.f.) = การให้เงินอุดหนุน
- Il s'agit de = เกี่ยวกับ, เป็นเรื่องเกี่ยวกับ...
- produit agricole = ผลิตภัณท์ทางการเกษตร
- paysan, paysanne (n.) = ชาวนา, ชาวไร่
- concurrence (n.f.) = การแข่งขันกัน / concurrent (n.m.) = คู่แข่ง
- déloyal (adj.) = ที่ไม่ซื่อสัตย์, ที่ไม่ซื่อตรง # loyal (adj.) = ซื่อสัตย์, ทีซื่อตรง
- domaine (n.m.) = ขอบเขต, ด้าน
- négociation (n.f.) = การเจรจา / négocier (v.) = เจรจา / négociateur (n.m.) = ผู้เจรจา
- résumer (v.) = สรุป, ย่อ
- troc (n.m.) = การแลกเปลี่ยน, การแลกเปลี่ยน(สินค้ากัน)
- sans doute = peut-être = บางที, อาจจะ
- poursuivre (v.) = ดำเนินต่อไป, ติดตามไป
- 24 heures sur 24 = ตลอด24ชั่วโมง
- de jour comme de nuit = ในตอนกลางวันเช่นเดียวกับในตอนกลางคืน
- vraisemblable (adj.) = น่าจะเป็น, น่าจะเป็นไปได้, น่าเชื่อ
- conférence (n.f.) = การประชุม
- s'en tenir à qqch (v.) = ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติมไปกว่าเดิม, ไม่มีอะไรมากไปกว่า...
- un paquet-dévéloppement = มาตรการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมในอันที่จะช่วยให้ประเทศยากจนกว่าได้ค้าขายและส่งออกได้มากขึ้น
- mesure (n.f.) = มาตรการ
- concret, concrète (adj.) = ที่เป็นรูปธรรม
- commercer (v.) = ทำการค้า
- davantage (adv.) = มากขึ้น, มากกว่า
- aborder une question (v.) = หยิบยกปัญหาขึ้นมาศึกษาและพิจารณา
- global (adj.) = โดยรวมๆ

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551



La biodiversité en danger

biodiversité (n.f.) = ความหลากหลายทางชีวภาพ [bio_ = เกี่ยวกับชีวะ / diversité = ความหลากหลาย]
- fait (n.f.) = เหตุการณ์ / du fait que = ด้วยเหตุที่...
- soit (subjonc. du verbe être)
- espèce (n.f.) = ชนิด, พันธุ์
- multiple (adj.) = หลากหลาย
- côte à côte (loc. adverbiale) = ที่อยู่ข้างๆกัน, เคียงข้างกัน
- les uns(les unes) les autres (loc. pronominale) = ซึ่งกันและกัน
- perdurer (v.) = คงอยู่ต่อไป, มีอยู่ต่อไป
- publier (v.) = พิมพ์, พิมเผยแพร่
- rapport (n.m.) = รายงาน
- alerter (v.) = เตือนภัย / alerte (n.f.) = การเตือนภัย
- chiffre (n.m.) = ตัวเลข
- menacer (v.) = ข่มขู่, คุกคาม
- parmi (prép.) = ท่ามกลาง, ในบรรดา
- fragile (adj.) = เปราะบาง / fragilité (n.f.à = ความเปราะบาง
- faire son entrée = เข้า, เข้ามา
- liste rouge = บัญชีแดง [บัญชีรายชื่อที่แสดงถึงสิ่งที่อยู่ในสภาวะอันตรายหรือวิกฤติ]
- victime (n.f.) = เหยื่อ, ผู้เคราะห์ร้าย
- réchauffement (n.m.) = การทำให้ร้อนขึ้น, การที่อากาศของโลกร้อนขึ้น
- climatique (adj.) = เกี่ยวกับสภาพอากาศ / climat (n.m.) = สภาพอากาศ / climatiser (v.) = ปรับสภาพอากาศ / clmatisation (n.f.) = การปรับสภาพอากาศ / climatiseur (n.m.) = เครื่องปรับอากาศ
- banquise (n.f.) = ก้อนน้ำแข็ง, แผ่นน้ำแข็ง
- fondre (v. / p.p. = fondu) = ละลาย, หลอมละลาย / fonte (n.f.) = การละลาย, การหลอมละลาย
- énorme (adj.) มหึมา, ใหญ่โต / énormément (adv.) = อย่างมากมาย
- bloc de glace (n.f.) = ภูเขาน้ำแข็ง
- provoquer (v.) = ก่อให้เกิด
- désormais = (adv.) = นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
- en voie de disparition = กำลังจะสูญพันธุ์ [voie (n.f.) = ช่องทาง,ลู่วิ่ง : Le train en provenance de Chiangmaï entre en gare, voie 4 = รถไฟที่มาจากเชียงใหม่เข้าสู่สถานีที่ช่องทางที่ 4 / Les pays en voie de développement = ประเทศกำลังพัฒนา]
- se dérouler (v.) = เกิดขึ้น, ดำเนินไป / déroulement (n.m.) การดำเนินไปของเหตุการณ์
- posséder (v.) = เป็นเจ้าของ / possession (n.f.) = การเป็นเจ้าของ / possesseur (n.m.) = ผู้เป็นเจ้าของ / possessif (adj.) = ที่เป็นเจ้าของ
- soit 30 000 animaux (conjonction) = หมายความว่า สัตว์ 30 000 ตัว [= c'est-à-dire... = คือว่า, หมายความว่า...]
- braconnier (n.m.) = ผูลักลอบ(ล่าเนื้อ, ล่าสัตว์)
- chasseur (n.m.) = ผู้ล่า, นักล่า, ผู้ขับไล่ / chasser (v.) = ไล่, ขับไล่, ไล่ล่า / chasse (n.f.) = การไล่, การขับไล่, การไล่ล่า / un avion de chasse = เครื่องบินขับไล่ / aller à la chasse = ไปล่าสัตว์ [aller à la pêche = ไปตกปลา]
- tuer (v.) = ฆ่า / tueur (n.m.) = นักฆ่า / tuerie (n.f.) = การฆ่า
- illégal, illégale, illégaux (adj.) = ที่ผิดกฎหมาย # légal, légale, légaux (adj.) = ที่ถูกกฎหมาย / illégalement (adv.) = อย่างผิดกฎหมาย # légalement (adv.) = อย่างถูกต้องตามกฎหมาย / illégalité (n.f.) = การผิดกฎหมาย # légalité การถูกต้องตามกฎหมาย
- ivoire (n.m.) = งาช้าง
- responsable (adj.) = ที่รับผิดชอบ # irresponsable (adj.) = ที่ไม่รับผิดชอบ / responsabilité (n.f.) = ความรับผิดชอบ # irresponsabilité (n.f.) = ความไม่รับผิดชอบ
- désastre (n.m.) = ภัยพิบัติ, ความหายนะ / désastreux (adj.) = ที่เป็นความหายนะ
- préconiser (v.) = แนะนำ, เรียกร้องให้...
- prendre conscience (v.) = ตระหนักถึง / prise (n.f. du verbe "prendre")
- collectif, collective (adj.) = ที่รวมกัน, ที่สมทบกัน / collectivement (adv.) = ร่วมกัน, ด้วยกัน : Les élèves ont préparé collectivement la fête de l'école.
- sauvegarde (n.f.) = การปกปักรักษา / sauvegarder (v.) = ป้องกัน, พิทักษ์รักษา

วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551



พายุหมุน (Cyclonic Storm) เป็นพายุที่มีขนาดใหญ่ เริ่มก่อตัวและมีกำลังแรงขึ้นจากบริเวณศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ลมพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางบริเวณซีกโลกเหนือ เป็นลมพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา ส่วนบริเวณซีกโลกใต้ เป็นลมพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในลักษณะตามเข็มนาฬิกา บริเวณใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงสุดความกดอากาศของปรอทในบารอมิเตอร์ บริเวณกลางของพายุจะอยู่ราว 965 มิลลิบาร์ (28.5 นิ้ว หรือ 72.4 เซนติเมตร) พายุโดยรอบจะหมุนด้วยความเร็วสูง มีความเร็วตั้งแต่ 75 - 125 ไมล์ (120 - 200 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง บริเวณศูนย์กลางพายุหมุนมีลักษณะคล้ายกับตาเป็นวงกลม เรียกว่า "ตาพายุ" (Central Eye) หรือในทางวิชาการ เรียกว่า Vortex โดยทั่วไปมีศูนย์กลาง 15-60 กิโลเมตร เครื่องบินสามารถบินเข้าไปในตาพายุ เพื่อทำการตรวจอากาศได้ แต่จะต้องผจญภัยกับกระแสลมแรงมาก ฝนตกหนัก ในปัจจุบันการตรวจอากาศจะใช้ภาพถ่ายเมฆจากดาวเทียมที่มีประสิทธิภาพสามารถตรวจอากาศแทนเครื่องบินได้

การแบ่งประเภทของพายุหมุนตามลักษณะและแหล่งกำเนิด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone) เป็นพายุที่มีแหล่งกำเนิดบริเวณน่านน้ำ ในเขตละติจูดต่ำ
2. พายุหมุนนอกเขตร้อน (Extratopical Cyclone) เป็นพายุที่มีแหล่งกำเนิดบริเวณละติจูดและละติจูดสูง
3. พายุหมุนทอร์นาโด (Tornado) เป็นพายุหมุนที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่มีความรุนแรงมากที่สุด ทำความเสียหายในบริเวณแคบกว่า ทั้งบริเวณพื้นดินและพื้นน้ำ พายุประเภทนี้ถ้าเกิดบริเวณเหนือพื้นน้ำเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (Waterspout)

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551



พายุทอร์นาโด (Tornadoes)

ในบรรดาพายุร้ายแล้วพายุทอร์นาโดเป็นพายุที่ร้ายแรงชนิดหนึ่งเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วจะทำลายเคหสถานบ้านช่อง ตึก สะพาน ต้นไม้ เรือ และแม้กระทั่งรถไฟให้พินาศเสียหายได้ ชีวิตของคนจำนวนหมื่นและทรัพย์สินจำนวนล้าน เคยถูกพายุนั้กระหน่ำทำลายมาแล้วมากต่อมาก พายุร้ายนี้เกิดขึ้นเป็นประจำในบริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ทวีปอเมริกาเหนือ และบริเวณฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ ด้านมหาสมุทรอัตลันติค

คำว่า"ทอร์นาโด" เป็นคำเสปญ แปลว่า หมุนเป็นเกลียว เพราะพายุนี้เป็นพายุหมุนมีเส้นผ่าศูนย์กลางของการหมุนแคบ ๆ แต่มีอัตราเร็วของการหมุนถึงชั่วโมงละ 300-500ไมล์ ความเร็วของการหมุนนี้ ถ้าผ่านไปในมหาสมุทรหรือลำแม่น้ำจะหอบเอาน้ำขึ้นเป็นลำไปในอากาศเกิดคลื่นลมร้ายแรงสามารถยกเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ขึ้นไปติดอยู่บนฝั่งลึก
เข้าไปได้เป็นไมล์ ๆ ถ้าผ่านไปบนบกก็จะทำลายสิ่งกีดขวางทางเดินแหลกลาญไปตลอดระยะทางการเคลื่อนที่ของพายุนี้ มีอัตราความเร็วราว 50 ไมล์ ถึง 100 ไมล์ต่อชั่วโมง

สาเหตุที่ทำให้เกิดพายุทอร์นาโดนี้ เนื่องมาจากการเกิดกลุ่มของอากาศที่เย็นกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้กลุ่มของอากาศที่อบอุ่นกว่า จึงทำให้เกิดกการถ่ายเทอากาศหมุนเวียนกันขึ้นในเขตจำกัดและเป็นไปได้โดยรวดเร็วใกล้ ๆ จุดศูนย์กลางจะมีกระแสลมหมุนเร็วที่สุดจนทำให้เกิดลำอากาศเป็นเกลียวตั้งสูงขึ้นไปใน
ท้องฟ้า ถัดออกมาทางขอบนอกอัตราเร็วของการหมุนค่อย ๆ ช้าลง แต่กระนั้นก็ตามที่ขอบนอกของมันก็มีความแรงพอที่จะพัดเอาบ้านทั้งหลังให้พังไปได้อย่างง่ายดาย

ลมหมุนประเภทนี้ถ้าเกิดในเขตทะเลจีนทางด้านเอเซียตะวันออก เรียกว่า ลมใต้ฝุ่น นับเป็นภัยธรรมชาติที่น่ากลัวมากอย่างหนึ่ง



พายุทอร์นาโด (Tornadoes)

ในบรรดาพายุร้ายแล้วพายุทอร์นาโดเป็นพายุที่ร้ายแรงชนิดหนึ่งเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วจะทำลายเคหสถานบ้านช่อง ตึก สะพาน ต้นไม้ เรือ และแม้กระทั่งรถไฟให้พินาศเสียหายได้ ชีวิตของคนจำนวนหมื่นและทรัพย์สินจำนวนล้าน เคยถูกพายุนั้กระหน่ำทำลายมาแล้วมากต่อมาก พายุร้ายนี้เกิดขึ้นเป็นประจำในบริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ทวีปอเมริกาเหนือ และบริเวณฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ ด้านมหาสมุทรอัตลันติค

คำว่า"ทอร์นาโด" เป็นคำเสปญ แปลว่า หมุนเป็นเกลียว เพราะพายุนี้เป็นพายุหมุนมีเส้นผ่าศูนย์กลางของการหมุนแคบ ๆ แต่มีอัตราเร็วของการหมุนถึงชั่วโมงละ 300-500ไมล์ ความเร็วของการหมุนนี้ ถ้าผ่านไปในมหาสมุทรหรือลำแม่น้ำจะหอบเอาน้ำขึ้นเป็นลำไปในอากาศเกิดคลื่นลมร้ายแรงสามารถยกเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ขึ้นไปติดอยู่บนฝั่งลึก
เข้าไปได้เป็นไมล์ ๆ ถ้าผ่านไปบนบกก็จะทำลายสิ่งกีดขวางทางเดินแหลกลาญไปตลอดระยะทางการเคลื่อนที่ของพายุนี้ มีอัตราความเร็วราว 50 ไมล์ ถึง 100 ไมล์ต่อชั่วโมง

สาเหตุที่ทำให้เกิดพายุทอร์นาโดนี้ เนื่องมาจากการเกิดกลุ่มของอากาศที่เย็นกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้กลุ่มของอากาศที่อบอุ่นกว่า จึงทำให้เกิดกการถ่ายเทอากาศหมุนเวียนกันขึ้นในเขตจำกัดและเป็นไปได้โดยรวดเร็วใกล้ ๆ จุดศูนย์กลางจะมีกระแสลมหมุนเร็วที่สุดจนทำให้เกิดลำอากาศเป็นเกลียวตั้งสูงขึ้นไปใน
ท้องฟ้า ถัดออกมาทางขอบนอกอัตราเร็วของการหมุนค่อย ๆ ช้าลง แต่กระนั้นก็ตามที่ขอบนอกของมันก็มีความแรงพอที่จะพัดเอาบ้านทั้งหลังให้พังไปได้อย่างง่ายดาย

ลมหมุนประเภทนี้ถ้าเกิดในเขตทะเลจีนทางด้านเอเซียตะวันออก เรียกว่า ลมใต้ฝุ่น นับเป็นภัยธรรมชาติที่น่ากลัวมากอย่างหนึ่ง

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Parler de musique : พูดคุยเรื่องดนตรี

• Quel genre de musique est-ce que tu aimes ? [เธอชอบดนตรีประเภทไหน]
- J'aime la musique pop mais je préfère la musique classique. [ฉันชอบดนตรีป๊อปแต่ฉันชอบดนตรีคลาสสิคมากกว่า]

• Vous faites de la musique ? [เธอเล่นดนตรีบ้างหรือเปล่า]
- Oui, je suis passionné par toutes sortes de musique. [ครับ ผมหลงใหลในดนตรีทุกชนิด]

• Tu joues d'un instrument de musique ? [เธอเล่นเครื่องดนตรีใดบ้างหรือเปล่า]
- Oui, je joue du piano, de la guitare et je fais aussi du violon. [เล่น ฉันเล่นเปียโน, กีตาร์ และฉันเล่นไวโอลินด้วย]

La musique




Au sens le plus large, la musique est l'art, consistant à arranger et ordonner les sons et les silences au cours du temps : le rythme est le support de cette combinaison temporelle, la hauteur celle de la combinaison fréquentielle, etc.


Allégorie évoquant la musique et les instrumentsDans un sens strict, il faut nuancer cette définition, puisque l'intrusion de l'aléatoire a dénié tout caractère volontaire à la composition.

La musique avant tout, et toute définition doit repartir de là, est un art (celui de la Muse, dit-on). Elle est donc création, représentation, et, bien sûr, communication. À ce titre, elle utilise certaines règles ou systèmes de composition, des plus simples (pur aléa) aux plus complexes. Comme toute création, la musique crée l’inconnu avec le connu, le futur avec le présent. Mais la musique est évanescente. Elle n'existe que dans l'instant de sa perception.

La musique est l'une des pratiques culturelles les plus anciennes. Elle comporte fréquemment une dimension artistique. La musique s'inspire toujours d'un « matériau sonore » pouvant regrouper l’ensemble des sons perceptibles, pour construire ce « matériau musical ». A ce titre elle a, dans les années récentes, été étudiées comme une science[1],[2]. L'ouïe, qui est le plus adapté de nos sens pour la connaissance des sentiments est, a contrario, le moins apte à la connaissance objective qui fonde la science. La musique est donc un concept dont la signification est multiple, il en résulte qu'elle ne peut avoir une définition unique regroupant tous les types de musique, tous les genres musicaux.

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551



วันวาเลนไทน์เป็นวันแห่งความรัก ไม่ว่าจะเป็นการรักครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน คนรัก ดังนั้นพอถึงวันวาเลนไทน์จึงมีการให้ของขวัญการ์ดรูปหัวใจ หรือดอกไม้ โดยทั่วไปแล้วดอกกุหลาบ จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน มีความเชื่อกันว่าดอกกุหลาบนั้นเป็นตัวแทนของการบอกรัก ได้เป็นอย่างดี ดอกกุหลาบแต่ละสีจะบอกความหมายที่แตกต่างกันไปซึ่งล้วนแต่เป็นความหมายที่ดีทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าข้างๆ ดอกไม้ที่เขาให้จะไม่มีข้อความที่บอกรักหรือความในใจก็ตามแต่ สิ่งของที่ใครมอบให้เราล้วนแต่เจ้าของคนให้จะคิดทั้งสิ้นว่ามีความหมายอย่างไรกับเรา


ส่งดอกไม้วันวาเลนไทน์
มนุษย์ได้ใช้ดอกไม้เป็นสื่อในการแสดงความรักต่อกันมานานแล้ว เราอาจจะคิดว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่สามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะความรักของหนุ่มสาวเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วดอกไม้แต่ละชนิดสามารถสื่อความรักได้หลายรูปแบบ ทั้งยังไม่จำกัดอายุและเพศอีกด้วย

กุหลาบแดง (Red Rose) : จะใช้ในความหมายแทน ประโยคที่ว่า "ฉันรักเธอ"
กุหลาบขาว (White Rose) : กุหลาบขาวแทนความหมายแห่งความรักอันบริสุทธิ์
กุหลาบชมพู (Pink Rose) : มักถูกใช้แทนความรักแบบโรแมนติก และความเสน่หาต่อกัน
กุหลาบเหลือง (Yellow Rose) : สีเหลืองเป็นสีแห่งความสดใส แทนความรักแบบเพื่อน

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันวาเลนไทน์



เรื่องของวันวาเลนไทน์นี้ มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ณ กรุงโรม หรืออาณาจักรโรมัน ในยุคของจักรพรรดิคลอดิอุส ที่สอง (Claudius II) โดยที่จักรพรรดิพระองค์นี้ มีนิสัยชอบกดขี่ข่มเหงผู้อื่น เขาได้สั่งให้ชาวโรมันทุกคน สักการะนับถือพระเจ้า 12 องค์ โดยผู้ที่ขัดขืนคำสั่งจะถูกทำโทษ รวมทั้งห้ามยุ่งเกี่ยวกับพวกคริสเตียนด้วย แต่นักบุณวาเลนตินุส (Valentinus) มีความเลื่อมใส ศรัทธาต่อพระคริสมาก เขาได้กล่าวไว้ว่า แม้กระทั่งความตายก็ไม่สามารถ เปลี่ยนความคิดของเขาได้ เขาจึงได้ถูกขังคุก
ช่วงอาทิตย์สุดท้ายในชีวิตของเขานั้น ได้มีสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้น ขณะที่เขาถูกคุมขังอยู่นั้น ผู้คุมขังได้ขอให้วาเลนตินุส สอนลูกสาวเขาซึ่งตาบอดด้วย จูเลียเป็นคนสวยแต่น่าเสียดายที่เธอตาบอดตั้งแต่แรกเกิด วาเลนตินุสได้เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ต่าง ๆ สอนเลข และเล่าเรื่องพระเจ้าให้เธอฟัง จูเลีย สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ได้ โดยคำบอกเล่าของ วาเลนตินุส เธอเชื่อใจเขาและเธอมีความสุขมากเมื่ออยู่กับเขา

วันหนึ่งจูเลียถามวาเลนตินุสว่า “ถ้าเราอธิษฐาน พระผู้เป็นเจ้าจะได้ยินเราไหม” เขาตอบ “พระองค์เจ้า จะได้ยินเราแน่นอน ท่านได้ยินเราทุกคน” จูเลียกล่าว “ท่านทราบหรือไม่ว่า ข้าอธิษฐานขออะไรทุก ๆ เช้า ทุก ๆ เย็น....ข้าหวังว่า ข้าจะได้มองเห็นโลก เห็น ทุก ๆ อย่างที่ท่านเล่าให้ข้าฟัง” วาเลนตินุสจึงบอก “พระเจ้ามอบแต่สิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ทุกคน เพียงแค่เรามีความเชื่อมั่นในพระองค์ท่าน เท่านั้นเอง”

จูเลีย ผู้ซึ่งมีความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าจึงได้คุกเข่า กุมมือ อธิษฐานพร้อมกับวาเลนตินุส และในขณะนั้นเอง ก็ได้มีแสงสว่างลอดเข้ามาในคุก และสิ่งมหัศจรรย์ก็ได้เกิดขึ้น จูเลียค่อย ๆ ลืมตา พระเจ้า.....เธอมองเห็นแล้ว!!!!! เขาและเธอจึงกล่าวขอบคุณต่อพระเจ้า และเรื่องมหัศจรรย์เรื่องนี้ ได้แพร่หลายไปทั่วราชอาณาจักร

ในคืนก่อนที่วาเลนตินุสจะสิ้นชีวิต โดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine” เข้าสิ้นชีพในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้น ศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินุส แต่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดร์และมิตรภาพอันสวยงาม

ประวัติวันวาเลนไทน์นี้ เป็นเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน เท่าที่ค้นหามาได้นี้เป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ เรื่องเท่านั้น ไม่ว่าประวัติที่แท้จริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ในปัจจุบันนี้ เราได้ถือว่าวันวาเลนไทน์ เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว คุณสามารถส่งดอกไม้ ขนมและการ์ด เพื่อบอกความนัยในแก่คนที่พิเศษของคุณ วันนี้จะเป็นวันที่เราส่งความรู้สึกดี ๆ ให้แก่กัน

Expressions ou comparaisons qui font référence aux animaux [สำนวนหรือการเปรียบเทียบที่อ้างอิงถึงสัดว์]

- Il n'y a pas un chat. = [ไม่มีใครอยู่สักคน]
- Il fait un temps de chien. = [อากาศไม่ดีเลย]
- Ces deux frères s'entendent comme chien et chat. = [พี่น้องสองคนนี้เข้ากันไม่ค่อยได้ (ทะเลาะกันยังกับหมากับแมว)]
- Il est doux comme un agneau. = [เขาอ่อนโยนและน่ารักมาก (ยังกับลูกแกะ)]
- Il a un caractère de cochon. = [เขานิสัยแย่มาก (ยังกับหมู)]
- Dans l'autobus à Bangkok, nous sommes serrés comme des sardines en boîte. = [ผู้คนเบียดเสียดกันมาก (ราวกับปลาซาร์ดีนในกระป๋อง)]
- Il est libre comme un oiseau. = [เขาเป็นอิสระ (ราวกับนก)]
- Une hirondelle ne fait pas le printemps. = [(เห็นนกนางแอ่นเพียงตัวเดียวไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นฤดูใบไม้ผลิ) เห็นเพียงตัวอย่างเดียว จะเหมาเอาว่า เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้เลยไม่ได้ คือ อย่าด่วนสรุป]
- Il est muet comme une carpe. = [เป็นคนเงียบมาก (เหมือนปลาคาร์ป)]
- Philippe est heureux comme un poisson dans l'eau. = [ฟิลิปป์มีความสุขมาก (เหมือนปลาได้นํ้า)]
- Cet enfant a une mémoire d'éléphant. = [เด็กคนนี้มีความจำดีเป็นเลิศ (เปรียบเทียบกับช้างที่ฉลาดและมีความจำที่ดี)]
- Elle a un appétit d'oiseau. = [หล่อนกินน้อยมาก (เหมือนนกที่กินได้น้อยในแต่ละครั้ง)]
- Cette femme a une langue de vipère. = [ผู้หญิงคนนี้ปากร้าย ชอบพูดให้ร้ายคนอื่น (เหมือนอสรพิษ)]
- Cette fille a une taille de guêpe. = [หญิงสาวคนนี้เอวบางร่างน้อย (เอวกิ่วเหมือนตัวต่อ)]
- Cet enfant est têtu comme un âne. = [เด็กคนนี้ดื้อรั้น (ยังกับลา)]
- Quand le chat n'est pas là, les souris dansent. = [เมื่อผู้เหนือกว่าไม่อยู่ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจะรู้สึกสนุกสนาน และมีควาสุข (แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง)]
- Il est malin comme un singe. = [เขาฉลาดแกมโกงมาก (เหมือนลิงที่เจ้าเล่ห์)]
- Il est rusé comme un renard. = [เขาฉลาดและเจา้เล่ห์มาก (เหมือนสุนัขจิ้งจอก)]
- Il est fort comme un boeuf. = [เขาแข็งแรงมาก (ราวกับวัว)]
- Il est laid comme un pou. = [เขาขี้เหร่มาก (ราวกับตัวหมัด)]
- Il est myope comme une taupe. = [เขาสายตาสั้นมาก (เหมือนตัวตุ่น)]
- Elle est gaie comme un pinson. = [หล่อนร่าเริงมากและอารมณ์ดีเสมอ (เหมือนนกชนิดหนึ่ง)]
- Je suis malade comme une bête. = [ฉันไม่สบายมาก (เหมือนสัตว์)]
- Elle est bête comme une oie. = [หล่อนโง่มาก (ราวกับห่าน)]
- J'ai une faim de loup. = [ฉันหิวมาก (ราวกับหมาป่า)]
- C'est une tête de cochon. = [เขาดื้อรั้นมาก (เหมือนหมู)]
- C'est un troupeau de moutons. = [เป็นคนที่เชื่อฟังอะไรง่ายๆโดยไม่คิด (เหมือนฝูงแกะ)]
- Il a une fièvre de cheval. = [เขามีไข้สูงมาก (เหมือนไข้ของม้า)]
- Il fait un froid de canard. = [อากาศหนาวมาก (ปรกติเป็ดจะเป็นสัตว์ที่ไม่รู้สึกหนาวง่ายๆ แต่ถ้าเป็ดรู้สึกหนาวแสดงว่าอากาศหนาวมาก)]
- Il a versé des larmes de crocodile. = [(เขาหลั่งนํ้าตาจระเข้) เขาแกล้งทำเป็นเสียใจ ถือได้ว่าเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก]



L'autruche



Animal de grande taille (270 cm au maximum pour le mâle, 200 cm pour la femelle) et assez lourd (jusqu'à 150 kg pour le mâle, 120 kg pour la femelle), l'autruche est un oiseau qui ne vole pas. Son espérance de vie est d'environ 70 ans.

L'autruche est le plus rapide des oiseaux terrestres. Elle se déplace en marchant et peut courir à une vitesse de 56 km/h. Cette sprinteuse n'a que deux doigts. Elle se repose sur le doigt intérieur, le plus développé, lorsqu'elle court. La faculté de voler a été remplacée par la puissance des pattes, qui lui permet de courir aussi vite que des mammifères.

À l'âge adulte, la tête et le cou de l'autruche sont dénudés ou garnis d'un duvet épais. Le plumage du corps est abondant. Les ailes sont courtes mais normalement constituées. Il existe un important dimorphisme sexuel, le mâle possède un plumage noir et blanc tandis que la femelle a un plumage brun terne.

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551




des meubles [n.m] เด เมิ๊อบ(เบลอ) เครื่องเรือน, เฟอร์นิเจอร์
des rideaux [n.m.] เด ริ-โด้ ม่าน
un tableau เอิง ตา-บโล ภาพติดฝาผนัง
un canapé เอิง กา-นา-เป้ โซฟา์
un coussin เอิง กุ๊ส-แซง หมอนอิง
une table basse อืน ต๊าบ(เบลอ) บาส(เซอ) โต๊ะเล็กๆวางของ
un tapis เอิง ตา-ปิ พรมปูพื้น
un fauteuil เอิง โฟ-เตย เก้าอี้แบบมีที่วางแขน
une chaise อืน แช๊ส(เซอ) เก้าอี้
une table อืน ต๊าบ(เบลอ) โต๊ะ์
une commode อืน กอม-มอด(เดอ) ตู้มีลิ้นชัก
une étagère อืน เน-ตา-แช(เรอ) ชั้นวางของ
un vase / un bouquet de fleurs เอิง วาส(เซอ) / เอิง บู-เก้ เดอ เฟลอ แจกัน, ดอกไม้หนึ่งช่อ




la cuisine = ห้องครัว
le placard = ตู้ติดฝาผนัง
le frigo = ตู้เย็น (= le réfrigérateur)
le robinet = ก๊อกน้ำ / l'évier (n.m.) = อ่างล้างจาน
le four = เตาอบ / la cuisinière = เตาหุงต้ม
le savon (de Marseille) = สบู่ล้าง(เครื่องใช้ในครัวเรือน) หรือ สบู่ที่ใช้อาบน้ำ

la salle de bains = ห้องน้ำ
la glace = กระจกเงา (= le miroir)
la serviette (de toilette หรือ de bains) = ผ้าเช็ดตัว, ผ้าขนหนู
le lavabo = อ่างล้างหน้า
les toilettes (n.f. pl.) = ส้วม (le W.C [อ่าน : เว-เซ]

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551



โบราณกาลนั้นถือว่าดอกไม้คือสัญลักษณ์ ในบทประพันธ์คลาสสิคมักจะกล่าวถึงดอกไม้ในทางเปรียบเปรยความงามของหญิงสาว หรือสื่อสัญลักษณ์ของความรักผ่านถ้อยคำที่พรรณนาถึงดอกไม้ แม้แต่ William Shakespear การเขียนถึงดอกไม้ก็มักจะถูกเขียนสอดแทรกไว้ในบทประพันธ์ของเขาเสมอ

ในภาษาของดอกไม้ ดอกไม้แต่ละชนิดสื่อความหมายที่แตกต่างกัน การเลือกสรรดอกไม้เพื่อสื่อความหมายให้ตรงใจผู้ให้ และถูกใจผู้รับถือเป็นศิลปะของการสานความสัมพันธ์

ดอกคริสแซนเธมัม หรือดอกเบญจมาศ สื่อความหมายของคำว่า “รักแท้”โดยเฉพาะดอกสีขาว คนญี่ปุ่นถือกันว่าดอกไม้ชนิดนี้เป็นดอกไม้อันสูงศักดิ์และทรงเกียรติ



ดอกลิลลี่เป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ ในพิธีแต่งงานดอกไม้ในมือถือของเจ้าสาวมักจะต้องมีดอกลิลลี่แซมอยู่เสมอ ดอกลิลลี่นับเป็นดอกไม้ดอกหนีงที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเคยถูกพบเป็นภาพวาดบนผนังและกำแพงในราชสำนักกรีกโบราณ

ดอกกุหลาบ หมายถึงความรัก ในแต่ละสีสันของดอกกุหลาบจะบ่งบอกความรักในแง่มุมที่แตกต่างกัน เช่นดอกกุหลาบสีแดงหมายถึงรักแท้ และในความรักนั้นก็ค่อนข้างร้อนแรงอยู่พอสมควร

กุหลาบสีขาวหมายถึงความรักที่บริสุทธิ์ไม่หวังสิ่งตอบแทน

กุหลาบสีเหลืองหมายถึงความรักที่ลดน้องลง และความรักที่ไม่ซื่อสัตย์



ดอกทิวลิป หมายถึงการฝากรักให้อีกฝายรับรู้ แต่สำหรับทิวลิปสีเหลืองจะมีความหมายที่ต่างไปคือรักที่สิ้นหวัง

เป็นดอกไม้เก่าแก่อีกชนิดหนึ่ง ชาวเติร์กและชาวเปอร์เซียเคยปลูกมาแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันประเทศฮอลแลนด์มีการปลูกทิวลิปเป็นอุตสาหกรรม

ดอกบัวสายหรือWater Lilyหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งจิตใจ ดอกบัวสายนับเป็นไม้น้ำชนิดหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ และยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของอียิปต์อีกด้วย

ดอกทานตะวันหมายถึงความหวัง ความภาคภูมิใจ และความหยิ่งยโส ในโบราณนั้นชาวอินคัสในเปรูเคารพบูชาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของพระอาทิตย์เช่นเดียวชาวอินเดียนในอเมริกาเหนือในเวลาต่อมา

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2551

Transporter

"Transport" (le substantif) et "transporter" (le verbe), viennent du latin trans et portare, trans signifiant "à travers" et portare "porter". Du même suffixe : comporter, apporter, supporter, rapporter, reporter, ...

Transporter implique la notion de véhicule et de voie de communications (la route, le canal ..). Les voies de communications font partie des infrastructures de transport, comme les ouvrages d'art (ponts, tunnels ..) et les bâtiments (gares, parkings ...) associés.

Par assimilation, des actions de déplacements et de conduction ont été dénommées "transports", comme le transport d'électicité, qui s'effectue sur des réseaux de câbles électriques, de gaz, de pétrole, au travers de conduites, les pipes-lines.

Ces notions particulières sont définies ci-dessous.

Déplacer
"Déplacer" indique un changement de place ("de" du latin : "hors de", "à partir de" et "platea" "rue large, place publique", mais n'implique pas l'existence d'un véhicule. Par exemple, un piéton se déplace, ou encore, une personne peut déplacer un objet. Il n'y a là de notion de transport, que lointaine, même si un huissier "se transporte".

Conduire
De son côté, "conduire" vient du latin cum (déformé en "con" en français), qui signifie "avec" et ducere, qui signifie "donner le chemin, diriger". De la même étymologie : Duc (dux, ducis : celui qui conduit ou qui montre le chemin, comme le "Duc" en français et Duce, en italien), aqueduc (qui conduit l'eau), oléoduc (qui condut l'huile ... et par assimilation, les huiles pétrolifères), conduire (conduire un véhicule, ou conduire le courant électrique), traduire (de trans et ducere : conduire au travers); et finissons pas séduire, réduire, induire, déduire, .... conduction, transduction, ... et tous les substantifs associés aux verbes.

Ainsi, même si la tournure "transporter" est utilisée pour le courant éléctrique, il faut bien comprendre "conduire" ou "fournir" pour l'électricité et "approvisionner" pour le gaz et les carburants.

Transmettre
En ce qui concerne le "transport" d'informations et les télécommunications, il vaut mieux utiliser le mot "transmettre", c'est à dire "mettre à disposition" au travers (d'un réseau de courants faibles). Là aussi, la notion de transport est abusive, mais familière.

Le latin, semble plus précis que le français usuel moderne, qui a assimilé différentes notions en une seule.

L'article qui suit concerne par conséquent, non seulement le transport per se, mais aussi ce qui conduit (oléoducs, gazoducs, câbles électrique), transmet (les courants forts ou les courants faibles tels que les signaux, messages, informations ..), fournit et approvisionne (gaz, électricité, eau, pétroles, ....)

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551

La nourriture ou l'aliment est un élément, d'origine animale ou végétale (parfois minérale), consommé par des êtres vivants à des fins énergétiques ou nutritionnelles. Les éléments liquides utilisés dans le même but sont appelés boissons, mais le terme de nourriture peut également s'y appliquer quand il s'agit de potages, de sauces, ou autres produits alimentaires

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

คำศัพท์ [Vocabulaire]

- C'est toujours la même chose ! = ไม่เห็นมีอะไรใหม่เลย ! / มันก็เดิมๆ

- bande (n.f.) = วง, คณะ, กลุ่ม, ก๊ก : Des bandes de jeunes se réunissent devant le cinéma. (กลุ่มวัยรุ่นรวมตัวกันอยู่หน้าโรงภาพยนต์)

- J'en ai marre. = J'en ai assez. = J'en ai ras-le-bol. (อ่าน : ชอง เน ราล-บอล)

- bâtiment (n.m.) = ตึก, อาคาร : Mon école a 6 bâtiments. La plupart de mes cours se passent dans le bâtiment 2. (โรงเรียนของเรามี อาคาร 6 หลัง ... ฉันเรียนส่วนใหญ่ในตึก 2)

- le RER : รถใต้ดินสายด่วนเชื่อมระหว่างใจกลางกรุงปารีสกับชานเมือง

- Beaubourg : (โบบูร์) ศูนย์วัฒนธรรมตั้งอยู่ในย่านโบบูร์ในปารีส มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า Centre culturel Georges Pompidou.

- Et puis quoi encore ?! = แล้วยังอะไรต่ออะไรอีกมากมาย

- On y va ! = ไปกันเถอะ







458